รู้จริง รู้ลึก รู้ทัน ทุกความเคลื่อนไหวของวงการแบดมินตันอ่าน Badminton Thai Today
GUANGZHOU
เส้นทางยอดฝีมือ(ตอน1)
  3 ธ.ค. 2561
แบ่งปัน



อีกไม่กี่วัน คือช่วงวันที่ 12-16 ธันวาคม จะมีการแข่งขัน HSBC BWF World Tour Finals 2018 ที่เมือง Guangzhou ประเทศจีน ซึ่งถือเป็นรายการแข่งขันประเภทบุคคลใหญ่ที่สุด เพราะคัดนักแบดมินตันที่ทำผลงานดีทั้งปี 1-8 อันดับของแต่ละประเภทมาชิงชัยในการแข่งขันรายการสุดท้าย
 
  การนับคะแนนสะสมนี้ สหพันธ์แบดมินตันโลก(BWF) นับจากผลงานการแข่งขัน 38 รายการใน 5 ระดับในการแข่งขัน HSBC World Tour Finals คือระดับ Super 1000 ที่มี 3 ทัวร์นาเมนต์ Super 750 มี 5 รายการ การแข่งขันระดับ Super 500 มี 7 ทัวร์นาเมนต์ ระดับ Super 300 จำนวน 11 ทัวร์นาเมนต์ และ BWF Tour Super 100 ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในการสะสมคะแนนอีก 11 รายการ 
 
ถึงตอนนี้ จำนวนนักกีฬาประเภทเดี่ยวทั้งชายและหญิง ประเภทละ 8 คนและประเภทคู่ 3 ประเภท ประเภทละ 8 คู่ได้สรุปแล้ว ซึ่งในประเภทชายเดี่ยว จะไม่มีนักกีฬาจากทวีปอื่นนอกเหนือจากเอเชีย ขณะที่ประเภทหญิงเดี่ยว ยังมี Michelle LI นักแบดมินตันหญิงแคนาดาเชื้อสายจีน ติดอันดับ 8 ในการสะสมคะแนน  
 
  อย่างไรก็ตาม จนถึงตอนนี้ ต้องจับตาดู 2 ประเภทว่าจะยังคงเป็นโผเดิมหรือไม่ เนื่องจากในประเภทหญิงเดี่ยว มีรายงานว่า HE Bingjiao นักแบดมินตันหญิงเดี่ยวจีน ที่ได้โควตาเนื่องจาก Carolina MARIN แชมป์โลกจากสเปนถอนตัวเพราะอาการบาดเจ็บ ก็อาจจะต้องถอนตัวเพราะไม่สมบูรณ์ ซึ่งหากเป็นเช่นนั้น คนที่ 8 ที่ได้ไปร่วมแข่งขันรายการสุดท้ายของปีก็คือ Beiwen ZHANG นักแบดมินตันสหรัฐเชื้อสายจีนอีกคน
 
นอกจากนั้น ก็ต้องจับตามองประเภทชายคู่ เพราะ Kim ASTRUP / Anders Skaarup RASMUSSEN ชายคู่เดนมาร์คที่มีคะแนนสะสมอยู่อันดับ 5 ว่าจะมีการถอนตัวหรือไม่ หลังจากสมาคมแบดมินตันเดนมาร์ค ประกาศไม่มีงบประมาณสนับสนุนนักกีฬาไปแข่งขันรายการต่างๆอีกต่อไป หลังการเจรจาเพื่อหาข้อยุติเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาล้มเหลว  
 
  วันนี้ จะมาพูดถึงเส้นทางของยอดนักฝีมือทั้ง 64 คนจาก 5 ประเภทที่จะไปแข่งขัน ว่ามีผลงานใน 38 ทัวร์เนาเมนต์สะสมคะแนนอย่างไร โดยในตอนแรกนี้ จะเขียนถึงการแข่งขันประเภท HSBC BWF World Tour Super 1000 ซึ่งมี 3 รายการ คือ YONEX All England Open 2018 เมื่อวันที่ 14-18 มีนาคม ต่อด้วยรายการ BLIBLI Indonesia Open 2018 เมื่อต้นเดือนกรกฎาคม และรายการ VICTOR China Open 2018 เมื่อ 18-23 กันยายน
 
 
 
โดยในรายการแรก คือ All England แชมป์ชายเดี่ยวคือ Shi Yuqi จากจีน ส่วนหญิงเดี่ยวเป็น Tai Tzu-ying นักแบดมินตันหญิงเดี่ยวมือ 1 โลก ชายคู่เป็น Marcus Fernaldi Gideon / Kevin Sanjaya Sukamuljo คู่มือ 1 โลกจากอินโดนีเซีย ขณะที่ Kamilla Rytter Juhl / Christinna Pedersen ก็สร้างประวัติศาสตร์ก่อนเลิกเล่นด้วยการคว้าแชมป์หญิงคู่รายการนี้สำเร็จ และปิดท้ายในประเภทคู่ผสม Yuta Watanabe / Arisa Higashino คู่วัยรุ่นญี่ปุ่น”แจ้งเกิด”สำเร็จเมื่อคว้าแชมป์รายการใหญ่  
 
  ถัดมาเป็นวันที่ 3-8 กรกฎาคม ในรายการ BLIBLI Indonesia Open 2018 แชมป์ชายเดี่ยวเป็น Kento Momota มือหนึ่งโลกคนปัจจุบัน ส่วนหญิงเดี่ยว ยังคงเป็น Tai Tzu-ying เช่นเดียวกับ Marcus Fernaldi Gideon / Kevin Sanjaya Sukamuljo ที่คว้าแชมป์รายการใหญ่ติดต่อกันเช่นกัน ส่วนหญิงคู่ Yuki Fukushima / Sayaka Hirota จากญี่ปุ่น ก็ไม่พลาดในฐานะคู่มือ 1 โลก และปิดท้าย Tontowi Ahmad / Liliyana Natsir สร้างรอยยิ้มให้กองเชียร์เจ้าบ้านที่แห่กันไปชมเต็มสนาม
 
รายการสุดท้ายในระดับ Super 1000 คือ Victor China Open แชมป์ชายเดี่ยวเป็น Anthony Sinisuka Ginting จากอินโดนีเซีย ขณะที่ Carolina Marín ก็คว้าแชมป์รายการที่ 2 ในประเทศจีนหลังจากคว้าแชมป์โลกหญิงเดี่ยว ขณะที่ชายคู่กลับเป็น Kim Astrup / Anders Skaarup Rasmussen มาเขย่าบัลลังก์ชายคู่จีนที่เพิ่งคว้าแชมป์โลก ส่วนหญิงคู่ก็ยังเป็นญี่ปุ่น คือ Misaki Matsutomo / Ayaka Takahashi และ Zheng Siwei / Huang Yaqiong กูหน้ากองเชียร์จีนเมื่อคว้าแชมป์คู่ผสม  
 
  สรุปว่าทัวร์นาเมนต์ใหญ่สุด 3 รายการในระดับ Super 1000 มีเพียง Tai Tzu-ying ที่คว้าแชมป์ 2 รายการ เช่นเดียวกับ Marcus Fernaldi Gideon / Kevin Sanjaya Sukamuljo ชายคู่มือ 1 โลกที่ประกาศศักดา

ส่วนหญิงคู่”ญี่ปุ่น” แสดงให้เห็นว่าเป็นชาติที่นักกีฬาประเภทนี้มาก เมื่อคว้าแชมป์ 2 ใน 3 รายการ และนักแบดมินตันหญิงคู่ของญี่ปุ่น ยังติดอันดับคะแนนสะสม HSBC RACE TO GUANGZHOU RANKINGS จนต้องยกโควตาให้นักกีฬาชาติอื่น

ขณะที่นักกีฬาไทย ถือว่ารายการระดับ Super 1000 ทั้ง 3 รายการในปีนี้ ทำผลงานได้ต่ำกว่าที่คาดหวัง เพราะไม่มีนักกีฬาทั้งประเภทเดี่ยวและคู่ผ่านมาถึงรอบรองชนะเลิศแม้แต่คนเดียว
 
 

ตอนต่อไป มาดูว่ารายการระดับ Super750 มีใครเป็นแชมป์กันบ้างในปีนี้
GUANGZHOU อื่นๆ