สหพันธ์แบดโลกปรับการแข่งขัน แบ่งเป็น 6 เกรดหวังยกระดับ
เป็นที่รู้กันมานานแล้วว่า การแข่งขันแบดมินตันทัวร์นาเมนต์ต่างๆของสหพันธ์แลดมินตันโลก (BWF) นั้น ใช้วิธีการแบ่งเกรดโดย”เงินรางวัล” ตั้งแต่ระดับซูเปอร์ซีรีส์พรีเมียร์ ซูเปอร์ซีรีส์ กรังด์ปรีซ์โกลด์ กรังด์ปรีซ์ ลงไปจนถึงรายการต่างๆ ซึ่งขึ้นอยู่กับ”เงินรางวัล”สำหรับการแข่งขันแต่ละรายการ
ล่าสุดในการประชุม BWF ที่กรุง กัวลา ลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย ที่ประชุมก็มีมติคลอดโครงสร้างการแข่งขันทัวร์นาเมนต์ต่างๆ ขึ้นมาใหม่เป็น 6 ระดับ โดยมี 4 ทัวร์นาเมนต์ที่จะมีเงินรางวัลการแข่งขันแตะล้านเหรียญสหรัฐ โดยโครงสร้างการแข่งขันใหม่นี้ จะแบ่งออกเป็น 6 เกรด ที่จะเริ่มในปี 2021 ซึ่งระดับ 1 คือการแข่งขันชิงเงินรางวัล 1.5 ล้านเหรียญสหรัฐ ส่วนระดับ 2 ที่ชิงเงินรางวัลล้านเหรียญ คือรายการที่จีน อังกฤษ และอินโดนีเซีย ขณะที่ระดับ 3 ชิงเงินรางวัล 7 แสนเหรียญ ซึ่งมีทั้งสิ้น 5 รายการ ระดับ 4 มีเงินรางวัล 350,000 เหรียญ ทั้งหมด 7 ทัวร์นาเมนต์ ระดับ 5 ชิงเงินรางวัล 150,000 เหรียญ ซึ่งมีทั้งสิ้น 11 รายการแข่งขัน
|
|
อย่างไรก็ตาม BWF เชื่อว่า เงินรางวัลจะเพิ่มขึ้นอย่างแน่นอนใน 2 ปีนี้ เมื่อมีการเสนอตัวเป็นเจ้าภาพ ที่จะต้องมีการตั้งเงินรางวัลสำหรับการแข่งขันมากขึ้นเพื่อได้รับการคัดเลือกให้เป็นเจ้าภาพการแข่งขันทัวร์นาเมนต์ต่าง ที่จะครบวาระในอีก 2 ปี |
ทั้งนี้ ในปัจจุบัน จีน เดนมาร์ค ฝรั่งเศส ญี่ปุ่นและมาเลเซีย เป็นเจ้าภาพการแข่งขันระดับ 3 ขณะที่ฮ่องกง อินเดีย อินโดนีเซีย เกาหลี มาเลเซีย สิงคโปร์และประเทศไทย เป็นเจ้าภาพการแข่งขันระดับ 4 ส่วนรายการแข่งขันระดับ 5 จัดที่ ออสเตรเลีย ไต้หวัน เยอรมัน อินเดีย เกาหลี มาเก๊า นิวซีแลนด์ สเปน สวิตเซอร์แลนด์ ประเทศไทย และสหรัฐอเมริกา
Poul-Erik Høyer ประธาน BWF กล่าวว่าในทุกวันนี้ ทัวร์นาเมนต์ต่างๆของ BWF เติบโตทุกปี แต่ BWF ยังต้องการปรับปรุงพัฒนาการแข่งขันให้ดีขึ้น
“เราพิจารณาว่าถึงเวลาแล้วที่จะปรับเปลี่ยนการแข่งขันแบดมินตันเพื่อให้กีฬานี้ได้รับความนิยมมากขึ้น เพราะทุกวันนี้ ผู้ชมทั่วโลกได้เห็นยอดนักแบดมินตันแข่งขันผ่านทีวีมากขึ้น” ประธาน BWF กล่าว และระบุว่า โครงสร้างแบบครบวงจรใหม่นี้ จะเสริมสร้างการรับรู้แบรนด์ จึงสามารถเพิ่มโอกาสและรายได้ให้นักกีฬา ซึ่งก็จะเป็นการเพิ่มคุณภาพการแข่งขันทั้ง 37 ทัวร์นาเมนต์ใน 6 ระดับ รวมทั้ง BWF จะมีบทลงโทษประเทศสมาชิกที่ไม่ปฏิบัติตามเพื่อควบคุมคุณภาพการแข่งขัน เพราะในแต่ละระดับ จะมีความแตกต่างกัน แต่ก็จะส่งเสริมกัน ซึ่งทุกระดับภายใต้โครงสร้างใหม่ สะท้อนให้เห็นถึงความสำเร็จของการแข่งขันที่ BWF จัดขึ้น