ก่อนโอลิมปิก 2016 ที่ริโอ BWF ทำงานหนักมากสำหรับแผนการนี้ โดย BWF พยายาม"โปรโมท"ให้ชาติต่างๆโดยเฉพาะอเมริกา อเมริกาใต้ หรือแม้แต่แอฟริกา หันมาให้ความสนใจกีฬานี้ให้เหมือนเอเชียและยุโรป โดยมีการเพิ่มทัวร์นาเมนต์ในทวีปเหล่านี้มากขึ้น ซึ่งแม้จะเป็นทัวร์นาเมนต์เล็กๆ ทั้ง International Challenge , International Series หรือ Future Series แต่ก็ถือว่าเริ่มมีความสนในกีฬานี้ขึ้นในทวีปอื่นๆนอกเหนือจากเอเชียและยุโรป ขณะเดียวกัน ก็มีการเชิญชวนนักแบดมินตันชื่อดังให้ไป"โชว์ตัว"ลงแข่งในประเทศที่แทบจะไม่รู้จัก"แบดมินตัน" ว่าเป็นกีฬาแบบไหน เช่น Lin Dan ที่ไปโชว์ลีลาในการทดลองใช้สนามที่บราซิลก่อนการแข่งขันโอลิมปิก ก็สร้างความตื่นเต้นตื่นตาให้กับเด็กๆและผู้คนจำนวนมาก จนกล่าวได้ว่า"แบดมินตัน"แจ้งเกิดที่บราซิลก่อนโอลิมปิก 2016 ได้สำเร็จ |
ส่วนเหรียญเงิน มีทั้ง มาเลเซีย อินเดีย เดนมาร์ค ขณะที่เหรียญทองแดง มีอังกฤษ และเกาหลี การมีถึง 9 ชาติ แม้อาจจะยังกระจุกอยู่ที่ 2 ทวีป แต่ก็ถือเป็นย่างก้าวสำคัญของการขยายแบดมินตันเป็น"กีฬามหาชน" และแผนนี้คือเป้าหมายสำคัญของสหพันธ์แบดมินตันโลก เป้าหมายนี้ จะทำสำเร็จได้ก็คือ ต้องหา"รายได้"สำหรับนักกีฬา เพราะทุกวันนี้ นักแบดมินตันมีรายได้จากเงินรางวัล"น้อยมาก" เมื่อเทียบกับกีฬาอื่น เช่น เทนนิส กอล์ฟ หรือกีฬาประเภททีม เช่น ฟุตบอล บาสเก็ตบอล อเมริกันฟุตบอล โดยสิ่งสำคัญที่จะทำให้แผนการนี้สำเร็จก็คือ การหา"สปอนเซอร์"มาสนับสนุน เพื่อให้เยาวชนที่อยากเล่นกีฬาอาชีพ หันมามอง"แบดมินตัน"เป็นอีกกีฬา ไม่ใช่เทนนิสหรือกอล์ฟ ซึ่งแน่นอนว่า การจะไปถึงเป้าหมายนั้นได้ก็คือ ต้องให้นักกีฬายุโรปหรือเอมริกา หันมาเล่นกีฬาประเภทนี้มากขึ้น ซึ่งก็เป็นไปตาม"แผนงาน" ที่ BWF วางไว้เป็นระบบ |