รู้จริง รู้ลึก รู้ทัน ทุกความเคลื่อนไหวของวงการแบดมินตันอ่าน Badminton Thai Today
ข่าวสารและกิจกรรม
ย้อนรอยแบดมินตันโอลิมปิก
  10 ก.ค. 2567
แบ่งปัน


อีกไม่กี่วัน การแข่งขันกีฬาโอลิมปิกที่มหานครปารีสก็จะเปิดฉาก และ”แบดมินตัน” ถือเป็นหนึ่งในเป็นกีฬาที่ได้รับความนิยมอย่างมาก แต่ที่ไม่น่าเชื่อก็คือ แม้จะแข่งขันมายาวนานและทั่วโลกสนใจ เช่น All England ที่แข่งขันมายาวนานนับ 100 ปี แต่ในกีฬาโอลิมปิก ก็เริ่มแนะนำตัวเป็น”กีฬาสาธิต”ในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกที่มิวนิกในปี 1972

ตอนนั้นทุกฝ่ายเชื่อกันว่า แบดมินตันจะกลายเป็นกีฬาโอลิมปิกอย่างรวดเร็ว แต่ตาม การโจมตีของผู้ก่อการร้ายในหมู่บ้านนักกีฬาที่มิวนิคในปี 1972 ได้ดึงความสนใจจากการแนะนำกีฬาใหม่ๆ อย่างรวดเร็ว และแบดมินตันที่น่าจะจัดขึ้นในกีฬาโอลิมปิก ก็เป็นหนึ่งในกีฬาที่ถูกเอนไปอีก 20 ปี โดยแข่งขันเป็นทางการครั้งแรกในบาร์เซโลนา ในปี 1992

ถึงวันนี้ แฟนแบดมินตันทั่วโลกกำลังรอคอยการแข่งขันที่ปารีส 2024 อย่างใจจดใจจ่อ สหพันธ์แบดมินตันโลก(BWF) จึงขอนำภาพรวมคร่าวๆ ของการเดินทางของ”แบดมินตัน”สู่โอลิมปิก
 
  เริ่มจากปี 1972 ในโอลิมปิกที่มิวนิค แบดมินตันเป็นกีฬาสาธิต โดยมีผู้เล่นที่ได้รับเชิญ 25 คนจาก 11 ประเทศ และจัดการแข่งขันเพียงวันเดียวคือ 4 กันยายน พ.ศ. 2515 ซึ่งผู้ชนะ ได้แก่ Rudy Hartono ในประเภทชายเดี่ยว Noriko Nakayama เป็นแชมป์หญิงเดี่ยว Ade Chandra/Christian Hadinata แชมป์ชายคู่ และ Derek Talbot/Gillian Gilks เป็นแชมป์คู่ผสม ในการแข่งขันที่ไม่มีประเภทหญิงคู่
 
แม้จะประสบความสำเร็จในการจัดการแข่งขัน แต่การโจมตีของผู้ก่อการร้ายในหมู่บ้านนักกีฬาในปีนั้น ทำให้การนำกีฬาใหม่เข้าสู่การแข่งขันโอลิมปิกล่าช้า  

ในปี 1982 Craig Reedie ประธานสหพันธ์แบดมินตันนานาชาติ (IBF) เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการโอลิมปิกสากล(IOC) ในกรุงโรม และผลักดันให้มีการรวมแบดมินตันในการประชุมกับ IOC และ Juan Antonio Samaranch ประธาน IOC ก็เห็นด้วยที่จะให้แบดมินตันเป็นกีฬาในโอลิมปิก

ในปี 1983 ประธาน IOC เข้าร่วมชมการแข่งขัน IBF World Championships ที่โคเปนเฮเกนในรอบรองชนะเลิศและรอบชิงชนะเลิศ ได้แสดงความประทับใจกับกีฬาและคุณภาพของการแข่งขัน โดยยอมรับว่าแบดมินตันสมควรได้รับการบรรจุในโอลิมปิก

ในปี 1985 ในการประชุม IOC ที่เบอร์ลินตะวันออก ทุกคนเห็นด้วยที่จะมีแบดมินตันไว้ในโปรแกรมโอลิมปิกปี 1992 และไม่กี่วันต่อมา การแข่งขัน IBF World Championships ในเมือง Calgary ประเทศแคนาดา ก็เป็นครั้งแรกที่ ธงโอลิมปิก ได้เข้าร่วมในกิจกรรมของ IBF

3 ปีต่อมาโอลิมปิกที่โซล ประเทศเกาหลีในปี 1988 แบดมินตัน จัดการแข่งขันเป็นกีฬานิทรรศการ
 
  ปี 1992 ประวัติศาสตร์เกิดขึ้น เมื่อแบดมินตันจัดการแข่งขันครั้งแรกในกีฬาโอลิมปิกที่บาร์เซโลนา โดยมี 4 ประเภทคือ ชายเดี่ยว หญิงเดี่ยว ชายคู่ และหญิงคู่ ซึ่งแบดมินตันโอลิมปิกคู่แรกคือการแข่งขันประเภทชายเดี่ยวระหว่าง Foo Kok Keong จากมาเลเซียและ Hans Sperre จากนอร์เวย์ และลูกแบดมินตันในเกมนั้น ถูกเก็บไว้เพื่อนำไปจัดแสดงที่พิพิธภัณฑ์โอลิมปิกในเมืองโลซานน์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์

ปี 1996 การแข่งขันประเภท คู่ผสม ก็บรรจุเพิ่มในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกที่แอตแลนตา และเดนมาร์ก เกาหลี อินโดนีเซีย และจีน ก็คว้าแชมป์
 
ในปี 2000 การแข่งขันกีฬาโอลิมปิกจัดขึ้นที่ซิดนีย์ Ge Fei/Gu Jun คว้าแชมป์ประเภทหญิงคู่ และเป็นแชมป์โอลิมปิก 2 สมัยเป็นคู่แรกในกีฬาแบดมินตัน และจีนประกาศศักดาเป็นมหาอำนาจแบดมินตันด้วยการคว้า 4 เหรียญทอง โดย”อินโดนีเซีย” ยังคงแข็งแกร่งในประเภทชายคู่  
 
  โอลิมปิก 2004 คู่ผสมจากจีน Zhang Jun/Gao Ling สามารถ ป้องกันได้ ขณะที่ Taufik Hidayat จากอินโดนีเซียและ Zhang Ning จากจีน คว้าแชมป์ประเภทเดี่ยว
 
 
 
ปี 2008 ในอิมปิกที่ปักกิ่ง การแข่งขันเริ่มใช้ระบบนับคะแนน 21×3 และ Zhang Ning จากจีน ก็ป้องกันเหรียญทองประเภทหญิงเดี่ยว โดย จีนคว้า 3 เหรียญทอง แบ่งให้ อินโดนีเซียและเกาหลี คว้าเหรียญทองประเภทชายคู่และคู่ผสสม  

ในปี 2012 โอลิมปิกที่ลอนดอนที่”จีน”คว้าแชมป์ทั้ง 5 เหรียญทอง แต่ก็มีรอยด่างเมื่อนักกีฬา 4 คู่ที่เป็นสองคู่จากเกาหลี และจีนกับอินโดนีเซียอีกชาติละคู่ ก็ถูกไล่ออกจากการแข่งขันหลังพบว่าไม่ใช้ความพยายามอย่างดีที่สุดในรอบแบ่งกลุ่ม และ Lin Dan ป้องกันแชมป์ชายเดี่ยวในรอบชิงชนะเลิศที่ตื่นเต้น ขณะที่ Zhao Yunlei เป็นผู้เล่นคนแรกที่คว้า 2 เหรียญทอง
 
 

ในปี 2016 เป็นครั้งที่ต้องบันทึกว่าแบดมินตันไม่มีการผูกขาด เมื่อ 5 ชาติแบ่งกันคว้าเหรียญรางวัล โดย Carolina Marin สร้างประวัติศาสตร์ด้วยการคว้าเหรียญทองหญิงเดี่ยวให้ยุโรปเป็นครั้งแรกในประเภทหญิงเดี่ยว ญี่ปุ่นคว้าเหรียญทองแรกจาก Misaki Matsutomo/Ayaka Takahashi ในประเภทหญิงคู่ 
 
 

วิกฤติไวรัสโควิด-19 ทำให้โอลิมปิก 2020 ในโตเกียว ถูกเลื่อนมาแข่งขันในปี 2021 แต่โอลิมปิกเกมส์ก็มีประวัติศาสตร์ คือ Lee Yang/Wang Chi-Lin สร้างประวัติศาสตร์ให้กับไต้หวันเมื่อคว้าเหรียญทองชายคู่ ขณะที่ Greysia Polii/Apriyani Rahayu คว้าเหรียญทองคู่หญิงคนแรกให้กับอินโดนีเซีย
 
 

อีกไม่กี่วัน แบดมินตันในโอลิมปิก 2024 ที่ปารีสจะเปิดฉาก ที่แฟนแบดมินตันไทยคงต้องการเห็นนักกีฬาไทยขึ้นโพเดี้ยมรับเหรียญรางวัลเป็นครั้งแรก

อ้างอิง : BWF

Cr.รูปภาพจาก Badmintonphoto
Cr.รูปภาพ 
Rudy Hartono จาก www.theguardian.com
Cr.รูปภาพ Ade Chandra/Christian Hadinata และ
Foo Kok Keong จาก BWF
ข่าวสารและกิจกรรมอื่นๆ