รู้จริง รู้ลึก รู้ทัน ทุกความเคลื่อนไหวของวงการแบดมินตันอ่าน Badminton Thai Today
ข่าวสารและกิจกรรม
Uber Cup : ยังยากที่จะมีแชมป์หน้าใหม่
  23 เม.ย. 2567
แบ่งปัน


การแข่งขัน Uber Cup ยุคใหม่ นัยตั้งแต่ปี 1998 จนถึงวันนี้ มีเพียง 3 ชาติคือ จีน เกาหลี และญี่ปุ่น เท่านั้นที่คว้าแชมป์ Uber Cup และการแข่งขัน Uber Cup ครั้งที่ 30 ที่จะเริ่มในวันที่ 27 เมษายน  ก็ดูจะเป็นเรื่องยากที่จะมองข้ามทั้งสามทีมนี้ และหากไม่ใช่ทั้งสามชาติ จะมีชาติไหนสร้าประวัติศาสตร์
 
  Uber Cup ครั้งล่าสุดที่ประเทศไทยเมื่อปี 2022 ถือเป็นรอบชิงชนะเลิศที่สร้างประวัติศาสตร์ใหม่ เมื่อ”เกาหลีใต้”ยุคเปลี่ยนถ่ายนักกีฬามาเป็นมือใหม่ ที่ดูจะมีเพียง An Se Young หญิงเดี่ยวมือหนึ่งเท่านั้นที่เป็นที่รู้จัก ขณะที่หญิงเดี่ยวอีก 2 คนที่ดูห่างชั้น กลับสร้างประวัติศาสตร์ เอาชนะ”จีน”ในรอบชิง และครั้งนี้ การขาด Kim Ga Eun หญิงเดี่ยวมือ 2 ก็ต้องดูว่าจะทำได้ดีแค่ไหนในการป้องกันแชมป์ ที่มีเพียง”จีน”เท่านั้นที่ทำได้ในรอบ 28 ปี 
 
ในทางกลับกัน “จีน”ที่เป็นรองแชมป์ครั้งก่อน นอกเหนือจากการเป็นเจ้าภาพที่มีเสียงเชียร์ทั้งสนาม ในประเภทคู่ก็ยังวางใจได้ทั้ง Chen Qing Chen/Jia Yi Fan ที่ดูจะยังเป็นหญิงคู่ คู่เดียวในโลกที่ฟอร์มสม่ำเสมอมากที่สุด   
 
  ขณะที่ Liu Sheng Shu/Tan Ning คู่มือใหม่ก็ทำผลงานขยับอันดับโลกขึ้นมาอย่างรวดเร็ว
 
ส่วนประเภทเดี่ยว ทั้ง Chen Yu Fei, He Bing Jiao, Han Yue และ Wang Zhi Yi ก็น่าจะทำให้กองเชียร์มั่นใจว่าจะกลับมาทวงแชมป์ได้  
 
   
 
ส่วน”ญี่ปุ่น” ที่อยู่กลุ่ม C ร่วมกับอินโดนีเซีย ฮ่องกง และยูกันดา ก็มีทีมที่แข็งแกร่งร่วมกัน ทั้ง Akane Yamaguchi, Aya Ohori, Nozomi Okuhara รวมถึง Tomoka Miyazaki ในประเภทเดี่ยว ประเภทหญิงคู่ญี่ปุ่นก็คงยากที่จะมองข้าม  
 
   

แล้วชาติไหนจะผู้ท้าชิง
 
  ดูเหมือนว่า”ประเทศไทย”น่าจะเป็นชาติแรกๆที่หลายคนคิด แต่การที่”หมิว”พรปวีณ์ ช่อชูวงศ์ ไม่สมบูรณ์เหมือนเดิม ทำให้ภารกิจที่ตกไปอยู่ที่ “เมย์”รัชนก อินทนนท์ และ”เม”ศุภนิดา เกตุทอง แต่ก็ไม่น่าแปลกหากไทยทำได้เหมือนปี 2018 ที่พวกเขาเข้าถึงรอบชิงชนะเลิศ ก่อนจะแพ้ญี่ปุ่นในรอบชิง 
 
 
 
ส่วน”อินเดีย” แชมป์การแข่งขัน Badminton Asia Team Championships น่าเสียดายที่การมา Chengdu ครั้งนี้ จะขาดผู้เล่นที่ดีที่สุดทั้งเดี่ยวและคู่ คือ Pusarla V Sindhu กับ Ashwini Ponnappa / Tanisha Crasto แถมการอยู่กลุ่มที่ท้าทายร่วมกับจีน แคนาดา และสิงคโปร์ ทำให้ทีมที่เต็มไปด้วยนักกีฬารุ่นใหม่ โดยเฉพาะอัจฉริยะคนใหม่คือ Anmol Kharb ที่โดดเด่นในศึกชิงแชมป์ทวีป ก็ดูมีโอกาสเล็กๆ  

มองไปฝั่งตะวันตก “สหรัฐอเมริกา” ที่เคยคว้าแชมป์ 3 ครั้งในยุคแรก คือปี 1957 ที่เป็นการแข่งขันครั้งแรก ต่อด้วย 1960 และ 1963 ในยุคที่แข่งขันทุก 3 ปี ก็มีความน่าสนใจที่จำนวนนักกีฬาหน้าใหม่ที่อาจจะเข้ารอบน้อคเอาท์ในกลุ่ม D ร่วมสายกับเกาหลี เดนมาร์ก และเม็กซิโก หากทำได้ดีในการเล่นกับเดนมาร์ก
 
  ขณะที่ “แคนาดา”ในกลุ่ม A ร่วมกับจีน อินเดีย และสิงคโปร์ ยังมีโอกาสจบอันดับสองเพื่อเข้ารอบน้อคเอาท์ด้วยการพึ่งพาฟอร์มของ Michelle Li, Wen Yu Zhang และ Rachel Chan ในประเภทเดี่ยว และ Catherine Choi/Josephine Wu และคู่อื่นๆ ที่อาจจะสามารถสร้างปัญหากับทีมที่มีเรตติ้งสูงกว่า โดยเฉพาะอินเดียที่ขาดมือดี

เตรียมชมและเชียร์ทีมไทย พร้อมจับตาจะมีหน้าใหม่คว้าแชมป์หรือไม่

อ้างอิง : BWF
ข่าวสารและกิจกรรมอื่นๆ