การคว้าแชมป์โลกของชายเดี่ยวและหญิงเดี่ยว”วิว”กุลวุฒิ วิทิตศานต์ นักกีฬาไทย และ AN Se Young หญิงเดี่ยวเกาหลี ที่อายุ 22 ทั้งคู่ ทำให้สื่อมาเลเซียตั้งคำถามว่าเกิดอะไรขึ้นกับมาเลเซีย ที่เป็นมหาอำนาจลูกขนไก่ของโลก โดย The Star สื่อชื่อดังของมาเลเซียตั้งคำถามว่าอนาคตของนักแบดมินตันประเภทเดี่ยวของมาเลเซีย จะอยู่ตรงไหน
|
|
The Star รายงาน รอบชิงชนะเลิศประเภทชายเดี่ยวในศึกชิงแชมป์โลกที่เดนมาร์ก ที่เป็นการต่อสู้อย่างดุเดือดระหว่าง “วิว”กุลวุฒิ วิทิตสาร วัย 22 ปีจากประเทศไทย และ Kodai NARAOKA เพื่อนร่วมรุ่นจากจากญี่ปุ่น ไม่เพียงแต่ทำให้นักกีฬาจากไทยเป็นแชมป์ชายเดี่ยวคนแรกของประเทศ แต่ในขณะเดียวกัน ก็ยังมี LOH Kean Yew นักกีฬาจากเพื่อนบ้านคือสิงคโปร์ ก็เคยคว้าแชมป์โลกมาแล้วเมื่อปี 2021 |
“ในเวลาเพียงหนึ่งปีครึ่ง สื่อมาเลเซียรายนี้มองว่า Kodai NARAOKA ได้แสดงให้เห็นว่าเขาเหมาะสมที่จะมาแทนที่แชมป์ 2 สมัยอย่าง Kento MOMOTA ที่ยังไม่เคยกลับมาจุดสุดยอดหลังเกิดอุบัติเหตุรถชนในมาเลเซีย” |
|
|
The Star ระบุว่า มาเลเซียมี Lee Zii Jia, Ng Tze Yong และ Justin Hoh แต่ทุกคนต่างก็มีวุฒิภาวะที่แตกต่างกันในเกมของพวกเขา อย่างเช่น Lee Zii Jia วัย 24 ปี ที่ยังต้องรับมือกับปัญหาทุกประเภทนับตั้งแต่คว้าแชมป์ All-England ในปี 2021
ขณะที่ Ng Tze Yong วัย 23 ปียังคงซื้อเวลาสำหรับการพัฒนาตัวเองให้สม่ำเสมอมากขึ้น ส่วน Justin Hoh ที่ได้รับบาดเจ็บ ก็ยังอยู่ในช่วงกลับมาเพื่อชดเชยเวลาที่เสียไป
|
|
ขณะที่ประเภทหญิงเดี่ยว สื่อเจ้าดังของมาเลเซียมองว่าถึงวันนี้มาตรฐานผู้เล่นมาเลเซีย ยังห่างจากนักกีฬาขาติอื่นมาก และ ”เป็นไปไม่ได้” ที่มาเลเซียจะมีนักกีฬาแบบ AN Se Young สาววัย 22 จากเกาหลีที่คว้าแชมป์ที่ 9 ในปีนี้ที่แสดงให้คู่แข่งของเธอเห็นว่าเธอได้สร้างมาตรฐานได้สูงในประเภทหญิงเดี่ยว โดยในรอบชิงแชมป์โลกกับแชมป์โลก 3 สมัยอย่าง Carolina Marin จากสเปน นักตบลูกขนไก่สาวจากเกาหลีแสดงให้เห็นความเหนือชั้นของเธอ |
“ในมาเลเซีย ไม่ว่าจะเป็นประเภทชายหรือหญิงเดี่ยว เราไม่เห็นดาวเด่นในระดับเวิลด์คลาสเลยแม้แต่คนเดียว และในระดับล่างก็มีไม่มากนัก และเด็กๆเหล่านี้ก็ไม่มีโอกาสได้เล่นในระดับคุณภาพ” |
|
|
“นักกีฬาประเภทเดี่ยวของมาเลเซียยังคงถูกทิ้งไว้ข้างหลัง ในขณะที่คนอื่นๆกำลังก้าวไปข้างหน้า” The Star ระบุ
อีกปัญหาหนึ่งที่สื่อมาเลเซียมองว่านักกีฬาพวกเขากำลังถูกท้าทายก็คือนอกจากไม่สามารถเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับโปรแกรมระดับรากหญ้าและปรับปรุงการจัดตั้งระดับชาติแล้ว มาเลเซียยังคงสูญเสียโค้ชไปครั้งแล้วครั้งเล่า และมีการเปลี่ยนแปลงบ่อยครั้ง ทั้งการเปลี่ยนโค้ชจากประเภทหนึ่งไปดูแลอีกประเภท จนแทบไม่มีเวลาทำงานกับนักกีฬา แถมตัวนักกีฬาก็ถูกย้ายไปอยู่ภายใต้โค้ชหรือผู้ดูแลคนอื่นจนไม่แทบจะไม่มีเวลาปักหลัก
“สิ่งที่แบดมินตันมาเลเซียต้องการในตอนนี้คือความมั่นคง”
|
|
อย่างไรก็ตาม สื่อมาเลเซียยังมองว่า ถือเป็นโชคดีที่มาเลเซียยังมีนักกีฬาประเภทคู่ ทั้งชายคู่ หญิงคู่ และประเภทคู่ผสม ที่นอกจากจะต้องรักษามาตรฐานตัวเอง ก็ต้องมองถึงการเตรียมคนรุ่นใหม่ เพราะแม้แชมป์โลกชายคู่ปี 2022 คือ Aaron Chia / Soh Wooi Yik ที่สามารถเข้าถึงรอบรองและคว้าเหรียญทองแดงในชิงแชมป์โลกปีนี้ |
โดยในประเภทชายคู่ MAN Wei Chong / Kai Wun TEE แสดงให้เห็นว่ายังมีศักยภาพที่จะพัฒนาได้ ส่วน ONG Yew Sin / TEO Ee Yi ถ้าไม่บาดเจ็บก็ฝากความหวังได้ ขณะที่ประเภทหญิงตู่ น่าเสียดายที่ TAN Pearly / THINAAH Muralitharan พลาดรางวัลหญิงคนแรกของประเทศ แต่ทั้งคู่ก็ทุ่มเทอย่างเต็มที่มาโดยตลอด |
|
|
The Star สรุปว่า การแข่งขันเอเชียนเกมส์ที่เมืองหางโจว ประเทศจีน นักกีฬาจากมาเลเซีย จะต้องเร่งศักยภาพเพื่อต่อสู้กับผู้เล่นจากจีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย อินเดีย ไทย และไต้หวัน
อ้างอิง : TheStar