รู้จริง รู้ลึก รู้ทัน ทุกความเคลื่อนไหวของวงการแบดมินตันอ่าน Badminton Thai Today
ข่าวสารและกิจกรรม
“เมื่อคุณพูดแบดมินตันคุณจะพูดว่าอินโดนีเซีย"
  6 พ.ย. 2563
แบ่งปัน

ถึงวันนี้ ”อินโดนีเซีย” ยังคงเป็นมหาอำนาจแบดมินตัน จึงไม่แปลกใจที่ Raja Sapta Oktohari ประธานคณะกรรมการโอลิมปิกสากลของอินโดนีเซีย ที่กล่าวถึง ”แบดมินตัน” ว่ามันเป็นมากกว่างานอดิเรกที่ไม่เป็นทางการในประเทศ มันเป็นส่วนหนึ่งของผู้คน ที่ทุกคนจะใช้สวนหลังบ้านและพื้นที่สาธารณะที่คับแคบ เป็นที่ทำกิจกรรมนี้ 

“เมื่อคุณพูดว่าแบดมินตันคุณจะพูดว่าอินโดนีเซีย” ประธาน IOC อินโดนีเซียกล่าว “นั่นคือความจริง”
 
  เมื่อการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกที่โตเกียวถูกเลื่อนออกไป ทำให้แบดมินตัน ซึ่งเป็นกีฬาประเภทเดียวที่อินโดนีเซียได้รับเหรียญทองในการแข่งขันโอลิมปิก คือ 7 เหรียญทอง แต่ก็ไม่ได้ทำให้ความมุ่งมั่นของทุกคนลดน้อยลง แม้ตอนที่ Covid-19 เริ่มระบาด ก็ยังมีการฝึกสอนโดยโค้ชที่สวมหน้ากากอนามัย

การเลื่อนการแข่งขันโอลิมปิก ทำให้สมาคมแบดมินตันอินโดนีเซีย ได้ให้นักกีฬาทีมชาติลงแข่งขันภายใน เพื่อไม่ให้พวกเขารู้สึกเบื่อและสามารถวัดผลของโปรแกรมการฝึกซ้อมได้

โดยนับตั้งแต่ Susi Susanti คว้าเหรียญทองหญิงเดี่ยวที่บาร์เซโลน่าเป็นเหรียญแรก ก่อนที่ Alan Budikusuma จะคว้าเหรียญทองชายเดี่ยวในเวลาต่อมา “แบดมินตัน” ก็เป็นกีฬาที่สร้างความหวังให้กับคนทั้งประเทศที่พวกเขาก็รับหน้าที่ปั้นแชมป์รุ่นต่อไป
 
Susi Susanti คือต้นแบบการสร้างความสำเร็จ เมื่อเธอต้องออกจากบ้านเพื่อย้ายไปจาการ์ตาสำหรับการใช้ชีวิตและฝึกซ้อมที่สโมสรแบดมินตันในเมืองหลวง ที่เป็นเส้นทางที่ยังคงตามด้วยผู้เล่นหลายคนที่ไปถึงทีมชาติ และคนที่ก้าวตามรอยก็คือ Liliyana Natsir แชมป์โลก 4 สมัยที่คว้าเหรียญทองประเภทคู่ผสมในการแข่งขันริโอเกมส์ 2016 ที่ย้ายจากบ้านเกิด Manado เมืองท่าบนเกาะ Sulawesi เพื่อมาฝึกซ้อมที่สโมสร Tangkas ในจาการ์ตาตั้งแต่อายุ 12  

Rudy Hartono หนึ่งในผู้เล่นชายเดี่ยวที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของประเทศ และเป็นผู้ที่มีอิทธิพลในการแข่งขันแบดมินตันระดับนานาชาติในช่วงทศวรรษ 1970 ที่กล่าวว่าความรักอย่างลึกซึ้งของชาวอินโดนีเซียที่มีต่อแบดมินตัน มันแสดงออกผ่านการเล่นหลังบ้านสำหรับครอบครัวชาวอินโดนีเซียมาโดยตลอด

“เมื่อคุณไปที่หมู่บ้านเล็กๆ คุณจะเห็นได้ว่าจะมีผู้คนมาเล่นแบดมินตันตั้งแต่ 6 โมงเย็นถึงเที่ยงคืน” ตำนานแบดมินตันโลกชาวอินโดนีเซียกล่าว 
 
  Yuppy Suhandinata เจ้าของสโมสร Tangkas บอกว่า ”แบดมินตัน” คือการรวมพลังให้เป็นหนึ่งเดียว เพราะ ”อินโดนีเซีย” มีประชากรและนักกีฬาที่ผสมผสานจากชาติพันธุ์ที่แตกต่างกัน ศาสนาที่แตกต่างกัน และภูมิหลังที่แตกต่างกัน เพราะอินโดนีเซียเป็นประเทศมุสลิมที่ใหญ่ที่สุดในโลกด้วยจำนวนประชากร แต่นักแบดมินตันหลายคนก็มีเชื้อสายและยึดถือวัฒนธรรมจีน

ทั้งนี้ ก่อนการฝึกซ้อมแต่ละครั้ง สโมสร Tangkas จะให้ผู้เล่นกล่าวคำอธิษฐานตามศาสนาของพวกเขา และถือเป็นประเพณีที่ดำเนินการจนถึงระดับสูงสุด และเป็นธรรมเนียมปฏิบัติในการฝึกซ้อมของทีมชาติด้วย
 
Achmad Budiharto เลขาธิการสมาคมแบดมินตันแห่งชาติกล่าวว่า ทุกวันนี้ อินโดนีเซียมีนักกีฬาแบดมินตันกว่าหนึ่งล้านคน ซึ่งนับตั้งแต่ การคว้าแชมป์ Thomas Cup ครั้งแรกของอินโดนีเซียเมื่อปี 1958 ก็เป็นแรงกดดันให้กับนักกีฬารุ่นต่อมา  

Marcus Fernaldi Gideon นักกีฬาชายคู่ที่เป็นหนึ่งในความหวังสูงสุดของชาวอินโดนีเซียในการแข่งขันโอลิมปิก ยอมรับว่ามีความกดดัน แต่มันทำให้ตัวเขาและคนอื่น ๆ ต้องหาวิธีสร้างแรงจูงใจเพื่อลดความกดดันนั้น 



“ทุกคนคาดหวังว่าเราจะชนะ เพราะนี่คือแบดมินตันและเราคืออินโดนีเซีย” นักแบดมินตันชายคู่มือหนึ่งของโลกคนปัจจุบันกล่าว

อ้างอิง : THE NEW YORK TIMES
ข่าวสารและกิจกรรมอื่นๆ