กล่าวกันแล้ว
”ไม่น่าเชื่อ” ว่าประเทศมาเลเซีย ที่มีประชากรกว่า 30 ล้านคน และเข้าร่วมแข่งขันโอลิมปิกมาตั้งแต่ปี 1956 แต่ผ่านมาจนถึงวันนี้ ก็ยังไม่เคยได้เหรียญทองจากนักกีฬาคนใดเลย
|
|
โดยการเข้าร่วม 13 ครั้งในการแข่งขันโอลิมปิกที่ผ่านมา มาเลเซียได้มาเพียง 7 เหรียญเงิน 4 เหรียญทองแดง และที่ไม่น่าเชื่อก็คือใน 7 เหรียญเงินนั้น มีถึง 6 เหรียญที่ได้จากแบดมินตัน และมาจาก Lee Chong Wei ถึง 3 ครั้งในการชิงชนะเลิศปี 2008,2012 และ 2016 ที่จบลงโดยแพ้นักกีฬาจากจีนทั้ง 3 ครั้ง และ 4 เหรียญทองแดงก็มาจากแบดมินตัน 2 เหรียญ คือมีเพียงเหรียญทองแดงจากกระโดดน้ำกับจักรยานเท่านั้น ที่ไม่ใช่นักแบดมินตัน |
นอกเหนือจาก Lee Chong Wei แล้ว นักแบดมินตันมาเลเซียที่ทำเหรียญรางวัลโอลิมปิกก็คือ Rasif Sidek / Jalani Sidek ได้เหรียญทองแดงชายคู่ปี 1992 Kit Soon Cheah / Hock Yap Kim ได้เหรียญเงินชายคู่ปี 1996 Rashid Sidek ได้เหรียญทองแดงชายเดี่ยวในปี 1996 CHAN Peng Soon / GOH Liu Ying ได้เหรียญเงินคู่ผสมปี 2016 GOH V Shem / TAN Wee Kiong ได้เหรียญเงินชายคู่ปี 2016 |
|
|
การที่
”แบดมินตัน” คือ
”กีฬาทำเหรียญ” ในการแข่งขันโอลิมปิก จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่รัฐบาลมาเลเซียสนับสนุนกีฬาแบดมินตันอย่างเต็มที่ในเรื่องงบประมาณ การจัดการ จนถึงการสนับสนุนทุกด้าน
|
|
ความจริงแล้ว โอลิมปิก 2020 ที่เดิมกำหนดแข่งในปีนี้ เป็นปีที่ Lee Chong Wei ที่ชิงชนะเลิศ 3 ครั้งล่าสุดตั้งความหวังมากที่จะไปแข่งขันและมุ่งเป้าคว้า ”เหรียญทอง” แต่เมื่อร่างกายไม่สามารถฝืนกับอาการเจ็บป่วย จนต้องประกาศแขวนแร็กเก็ตเลิกเล่นเมื่อปีก่อน ทำให้อดีตมือหนึ่งโลกที่ครองบัลลังก์มายาวนานที่สุดต้องส่งมอบภารกิจต่อให้กับนักกีฬารุ่นน้อง |
อย่างไรก็ตาม แม้จะไม่มี ”ตำนาน” อย่าง Lee Chong Wei มาเป็นกำลังสำคัญในการล่าเหรียญรางวัล แต่ภายใต้การสนับสนุนของภาครัฐและภาคเอกชน ทำให้สมาคมแบดมินตันมาเลเซีย มีงบประมาณมากมายและเริ่มวางโรดแมปเพื่อล่าเหรียญทองโอลิมปิก 2020 ที่แข่งขันในปี 2021 ภายใต้โครงการ RTT หรือ Road To Tokyo |
|
|
สำหรับแผนงาน RTT นั้น สมาคมแบดมินตันมาเลเซียจะ
”ฝึกหนัก” และ
”ติวเข้ม” นักกีฬาที่มีโอกาสได้โควตาไปแข่งขันโอลิมปิก โดยมีแผนทั้งระยะสั้นและระยะยาว เพื่อความสำเร็จในกีฬาที่เป็น”ความหวังเดียว”ของประเทศ
|
|
โดยในประเภทชายเดี่ยว ถึงวันนี้ LEE Zii Jia นักแบดมินตันชายเดี่ยวมือ 10 ของโลก ถือเป็น ”ความหวังสูงสุด” ของประเทศ และถือเป็นโอกาสดีที่การแข่งขันเลื่อนไปอีกหนึ่งปี ทำให้เจ้าหนุ่มวัย 22 ได้รับการพัฒนามากขึ้นทั้งร่างกาย จิตใจและเทคนิค เพื่อให้พร้อมเมื่อถึงเวลาแข่งขัน |
โดยน่าสนใจว่า แม้ Lee Chong Wei ไม่ได้เป็นทีมงานผู้ฝึกสอน แต่ก็เป็นหนึ่งใน ”เบื้องหลัง” ที่ LEE Zii Jia เข้าพบเพื่อขอคำแนะนำที่เจ้าตัวบอกว่าได้รับคำสอนที่มีคุณค่ามากมาย โดยเฉพาะการย้ำว่าในการเล่นประเภทเดี่ยวนั้น การอยู่คนเดียวในสนาม ทุกอย่างต้องขึ้นกับตัวเอง 80 % |
|
|
ส่วนนักกีฬาที่มีอันดับ 2 รองมาคือ LIEW Daren ในวัย 32 ไม่ถือว่าเป็นนักกีฬาทีมชาติ จึงไม่ได้เข้าร่วมโครงการ RTT แต่ก็มี SOONG Joo Ven และ CHEAM June Wei ที่ได้รับโอกาสเข้ามาร่วมฝึกซ้อมด้วย
|
|
ส่วนประเภทหญิงเดี่ยว ที่สมาคมแบดมินตันมาเลเซียยอมรับว่านักกีฬาของตัวเองคงยัง ”ห่าง” กับนักแบดมินตันหญิงเดี่ยวชั้นนำของโลก แต่ GOH Jin Wei อดีตแชมป์เยาวชนโลก 2 สมัยและ KISONA Selvaduray สาววัยยี่สิบเจ้าของเหรียญทองหญิงเดี่ยวซีเกมส์คนล่าสุด ก็ยังเป็นความหวังในอนาคต โดย Soniia CHEAH ยังคงต้องทำหน้าที่ ”พี่เลี้ยง” จนกว่าน้องๆจะขยับอันดับขึ้นมา ส่วน LEE Ying Ying อยู่ในช่วงของตัดสินใจว่าจะเลือกเล่นหรือเรียน |
ในประเภทชายคู่นั้น แม้ GOH V Shem / TAN Wee Kiong ทำผลงานดีคือได้เหรียญเงินในริโอ 2016 แต่สถานะปัจจุบันก็ไม่ได้อยู่ในทีมชาติ โดยชายคู่มือหนึ่งคือ Aaron CHIA / SOH Wooi Yik คู่มือ 9 ของโลก คือเป้าหมายหลักของการพัฒนา แต่สมาคมก็ยังให้โอกาสคู่เหรียญเงินโอลิมปิกครั้งก่อนเข้าแคมป์เพื่อมากระตุ้นและส่งเสริมให้คู่อื่นลงแข่งขันด้วย รวมทั้งคู่ ONG Yew Sin / TEO Ee Yi คู่แชมป์ Thailand Master ที่อยู่อันดับ 15 ของโลก |
|
|
ในประเภทหญิงคู่ ก็เป็นอีกประเภทที่มาเลเซีย ยังหาคู่มือดีไม่ได้ โดยคู่ CHOW Mei Kuan / LEE Meng Yean คู่มือ 14 ของโลก ที่น่าจะได้โควตาไปแข่งขัน กับ Vivian HOO / YAP Cheng Wen คู่มือ 25 ของโลก ก็อยู่ในแคมป์ RTT เพื่อพัฒนายกระดับฝีมือ
|
|
ปิดท้ายประเภทคู่ผสม ที่ CHAN Peng Soon / GOH Liu Ying เจ้าของเหรียญเงินโอลิมปิก 2016 ไม่ได้เป็นนักกีฬาทีมชาติแล้ว แต่การยังคงแข่งขันในฐานะนักกีฬาอิสระและรักษาอันดับ 7 ของโลก พร้อมคงโควตาโอลิมปิก ทำให้ทั้งคู่ยังได้รับโอกาสเข้าค่ายในโครงการ RTT เพราะทุกอย่างพร้อมกว่าการฝึกซ้อมแบบนักกีฬาอิสระ |
อย่างไรก็ตาม แผนของสมาคมแบดมินตันมาเลเซีย ยังคงมุ่งมั่นที่คู่ TAN Kian Meng / LAI Pei Jing กับ GOH Soon Huat / LAI Shevon Jemie คู่มือ 11 และ 12 ของโลก ที่จะต้องเร่งทำผลงานในการได้รีบโอกาสเดินทางไปแข่งขัน เพื่อทำคะแนนสะสมแซงหน้ารุ่นพี่เจ้าของเหรียญรางวัลโอลิมปิกครั้งก่อน เพราะหากทั้งคู่ไม่สามารถเอาชนะรุ่นพี่ได้ สุดท้ายโควตาและสิทธิ์ในการสวมเสื้อทีมชาติมาเลเซียในโอลิมปิก 2020 ก็จะเป็นของนักกีฬาอิสระที่ยังทำผลงานได้ดี |
|
|
การจัดทำโครงการ RTT ของมาเลเซีย แม้จะเป็นเรื่องธรรมดา แต่ที่ปฏิเสธไม่ได้ก็คือ เป็นโครงการที่มี
”เป้าหมาย” ชัดเจนในการเตรียมตัวนักกีฬาสำหรับรายการใหญ่ในปีหน้า