RAJES PAUL ผู้สื่อข่าวด้านแบดมินตันชื่อดังที่ประจำอยู่ที่ลอนดอน เขียนถึงการตัดสินใจของสหพันธ์แบดมินตันโลก (BWF) ที่เปิดโปรแกรมแข่งขันใหม่ว่า แม้จะไม่สามารถตำหนิ BWF ได้ เพราะเห็นด้วยกับการตัดสินใจว่า
”สุขภาพ” ของผู้คนทั้งนักกีฬา เจ้าหน้าที่จนถึงผู้ชม แต่การอัดโปรแกรมลงไปถึง 22 รายการใน 5 เดือน เป็นเรื่องที่
”ตลก” เกินไป
จึงไม่แปลกใจที่ปฏิกิริยาของนักกีฬาที่แสดงออกเมื่อเห็นโปรแกรมผ่านโซเชียลมีเดียของหลายคน มีทั้งตกใจ ไม่เชื่อ เพราะหากต้องแข่งขันเพื่อเหตุผลการเก็บคะแนนสำหรับเข้าร่วมแข่งขันโอลิมปิก 2020 ในปีหน้า นักกีฬาทุกคนก็จะตกอยู่ในสถานการณ์ลำบาก เพราะหากพวกเขาไม่แข่งขัน อันดับโลกก็จะตกไป ขณะที่หากจะต้องลงแข่งขันก็จะเสี่ยงต่อการบาดเจ็บ |
|
|
สิ่งที่นักกีฬาและทีมงานหลายชาติกำลังพิจารณากันก็คือ จะเลือกแข่งโปรแกรมไหน ถอนตัวโปรแกรมไหน เพื่อให้ผลลัพธ์ออกมาดีที่สุด เพราะการตัดสินใจนี้ จะออกมาในทางที่ดีที่สุดหรือเลวร้ายที่สุด ทั้งเรื่องรายได้ อันดับ กระทั่งร่างกาย
|
|
RAJES PAUL มองว่าแม้จะเข้าใจการตัดสินใจ แต่ก็ยังเห็นได้ว่า BWF ตัดสินใจเลือกการแข่งขันทั้ง 22 รายการโดยมองรายได้หลักสำหรับ BWF เป็นตัวตัดสิน เพราะการเงินของ BWF เมื่อปี 2019 มีมากถึง 25.1 ล้านเหรียญสหรัฐ จากการแข่งขันต่างๆที่รวมถึง World Championships, Sudirman Cup และ All-England ที่สามารถดึงดูดผู้สนับสนุนรายใหญ่ |
แต่ในความเป็นจริง นักแบดมินตันเป็นนักกีฬาที่มีรายได้น้อยมากเมื่อเทียบกับนักกีฬาอย่าง เทนนิส เพราะแม้เงินรายได้จะมากกว่านักกีฬายุค 1980 และ 1990 แต่หลายโปรแกรมสำคัญหลายรายการ เช่น World Championships, Thomas Cup Finals และ Sudirman Cupn นักกีฬาจะได้แค่ความภาคภูมิใจ ไม่มีเงินรางวัลจาก BWF
ขณะที่พนักงานที่สำนักงานใหญ่ BWF และภูมิภาคต่างๆ กลับมีสวัสดิการ ดังนั้น จึงอยากให้ประเทศสมาชิก 184 ชาติที่ร่วมการประชุมสามัญประจำปีเสมือนจริงครั้งแรกของ BWF ในวันที่ 5 มิถุนายน สมาชิกควรพิจารณาสวัสดิการของผู้เล่น โดยเฉพาะประเทศที่ยากจนที่ได้รับผลกระทบจาก Covid-19 ที่ควรขอความช่วยเหลือทางการเงินจาก BWF ที่ Poul Erik-Hoyer ประธาน และ Thomas Lund เลขาธิการทั่วไป ประกาศให้ความสำคัญเท่าเทียมกัน |
|
|
“เรื่องนี้สำคัญกว่ารูปแบบการนับคะแนนแบบใหม่ หรือการนำลูกขนไก่พลาสติกมาใช้ในการเล่นกลางแจ้งด้วยซ้ำ” RAJES PAUL เขียนสรุป
อ้างอิง : TheStar