ในช่วงที่การแข่งขันแบดมินตันไม่มีการแข่งขัน เนื่องจากสหพันธ์แบดมินตันโลก(BWF) ไม่อยากให้นักกีฬา ผู้เกี่ยวข้อง กระทั่งผู้ชม มาพบกับความเสี่ยงจากวิกฤต coronavirus ทำให้ข่าวสารของแบดมินตันน้อยลง
|
|
ล่าสุด BWF ได้นำเสนอเรื่องราวของนักกีฬาไทย ที่ใช้การประชุมทีมออนไลน์และการฝึกอบรมแบดมินตัน โดยมี
Smartwatches เป็นเครื่องช่วย โดยการสัมภาษณ์ Rexy Mainaky หน้าโค้ชทีมชาติไทยชาวอินโดนีเซีย ที่ใช้เทคโนโลยีติดตามการฝึกซ้มอของผู้เล่น ที่ถึงตอนนี้ ส่วนใหญ่จะฝึกซ้อมที่บ้าน และรายงานโปรแกรมการฝึกซ้อมรวมทั้งเฝ้าดูวิดีโอจากผู้ฝึกสอนและโค้ช |
Rexy Mainaky ยอมรับว่า ถึงตอนนี้ เทคโนโลยี แม้แต่ smartwatch ก็ถือว่ามีประโยชน์และสามารถทำให้การฝึกซ้อมของนักกีฬาและการตรวจสอบจากทีมงานผู้ฝึกสอนมีประโยชน์ โดยนักกีฬาไทยสวมใส่ smartwatches ทั้งในและนอกสนามมาหลายเดือนแล้ว ทำให้ทีมงานสามารถตรวจสอบรายละเอียดรวมทั้งข้อมูลของนักกีฬา เช่น อัตราการเต้นของหัวใจ การนอนหลับ และการแข่งขัน Yonex All England ที่เพิ่งจบไป smartwatches ได้พิสูจน์แล้วว่ามีประโยชน์มาก |
|
|
“ผู้เล่นส่วนใหญ่ถูกขอให้สวม smartwatches ทำให้เราสามารถตรวจสอบพวกเขาได้” หัวหน้าโค้ชทีมชาติไทยกล่าว และว่า “เราสามารถเปรียบเทียบข้อมูลปัจจุบันกับข้อมูลเก่า โดยมีทีมสนับสนุนส่งรายงานความคืบหน้าของผู้เล่นมาให้ผมรู้ว่าพวกเขาผลักดันตัวเองมากแค่ไหน"
ทั้งนี้ ทีมชาติไทยก็เหมือนนักกีฬาชาติอื่นๆคือ ไม่สามารถกลับไปฝึกซ้อมตามปกติหลังจบการแข่งขัน All England แต่เพื่อรักษาสภาพร่างกายที่พวกเขามีภารกิจจะต้องฝึกกายภาพวันละ 2 ครั้ง 6 วันต่อสัปดาห์ ทำให้ทีมงานสามารถใช้เทคโนโลยีนี้ตรวจสอบ รวมถึงการติดตาม ประชุม และแนะนำนักกีฬา
“เรามีทีมงาน 3 คนติดตามตรวจสอบนักกีฬา 10 คน” Rexy Mainaky กล่าว
“ผมได้แต่งตั้งโค้ชหนึ่งคนเพื่อคอยตรวจสอบวินัย โค้ชทุกคนต้องจัดการกับผู้เล่นประมาณ 10 คนเพื่อให้พวกเขาฝึกซ้อมอย่างมีคุณภาพ”
|
|
โดยหัวหน้าโค้ชทีมชาติไทยกล่าวว่า โปรแกรมส่วนใหญ่ของนักกีฬาในขณะนี้คือการดูและสภาพความฟิตของร่างกาย ที่จะต้องฝึกซ้อมครั้งละ 2 ชั่วโมง วันละ 2 ครั้ง ซึ่งเดิมจะลงสนามฝึกซ้อมในวันอังคารและวันศุกร์ แต่เมื่อทำไม่ได้ นักกีฬาก็จะต้องฝึกซ้อมเอง ซึ่งช่วยรักษารูปแบบและการตอบสนอง โดยพวกเขาควรถือแร็กเก็ตเพื่อไม่สูญเสียการจับ โดยอาจจะตีใส่กำแพงหรืออะไรทำนองนั้น |
“เป็นการกลับมาฝึกซ้อมนอกสนาม แต่เราสามารถเพิ่มการออกกำลังกายให้มากที่สุด ผมจึงสั่งให้ผู้ฝึกสอนทางกายภาพตั้งโปรแกรม ถ้าเราปล่อยให้ผู้เล่นฝึกซ้อมคนเดียวอาจจะได้ผลไม่เต็มร้อย มันจึงแตกต่างกันถ้ามีโค้ชตรวจสอบผ่านวิดีโอและเราสามารถชี้ให้เห็นบางสิ่งได้ โค้ชทุกคนได้รับคำสั่งให้ติดตามผู้เล่น”
|
|
อย่างไรก็ตาม หัวหน้าโค้ชชาวอินโดนีเซียยอมรับว่า ความสำเร็จจะเกิดขึ้นได้หรือไม่นั้น อยู่ที่นักกีฬาที่จะต้องใช้เทคโนโลยีเหล่านี้ให้เป็นประโยชน์ เพราะทึมงานโค้ชไม่รู้ว่านักกีฬามีอุปกรณ์อยู่ที่บ้านมากน้อยแค่ไหน ส่วนใหญ่มีจักรยานหรือดัมเบลขนาดเล็ก นักกีฬาจึงควรจะสามารถใช้เทคโนโลยีมากกว่าวิธีการดั้งเดิม เช่น การใช้ก้อนหินหรือของหนักใส่เป้หรือกระเป๋าสะพายหลัง โดยนอกเหนือจากนั้น ทีมงานผู้ฝึกสอนยังสนับสนุนให้พวกเขาดูวิดีโอ โดยโค้ชติดต่ออย่างต่อเนื่องและให้คำแนะนำ |
อย่างไรก็ตาม Rexy Mainaky ยอมรับว่า สิ่งสำคัญที่จะต้องให้การสนับสนุนนักกีฬาคือเรื่องจิตใจ เพราะนักกีฬาบางคนไม่คุ้นเคยกับการต้องฝึกซ้อมและเคี่ยวเข็นตัวเองที่บ้าน
“ผมอยากจะเรียกประชุมโค้ชทุกคนและนัดกับนักจิตวิทยา ผู้เล่นบางคนอาจจะเบื่อที่จะต้องซ้อมเอง เราจึงต้องพยายามหาวิธีฆ่าความเบื่อหน่ายนั้น เพราะมันไม่ค่อยดีนักหากพวกเขาต้องนั่งดูวิดีโอตลอดเวลา ในสถานการณ์แบบนี้ มีแง่บวกไม่มากนัก สิ่งที่เรากำลังทำอยู่เป็นเพียงมาตรการฉุกเฉินเท่านั้น” หัวหน้าโค้ชทีมชาติไทยกล่าว
อ้างอิง : BWF