เพราะแม้จะได้แค่ 2 แชมป์ในประเภทคู่ผสมกับหญิงคู่ แต่พวกเขาก็เป็นชาติที่เข้าชิงชนะเลิศถึง 4 ประเภท โดยมีเพียงประเภทชายเดี่ยวที่ไม่ได้เข้าชิง ขณะที่หญิงเดี่ยวกับชายคู่ ก็ได้รองแชมป์ |
แต่ว่าไปแล้ว ศึกชิงแชมป์เยาวชนโลกนั้น ประเภทชายเดี่ยวยังคงเป็น "จุดอ่อน" ของจีน โดยนักแบดมินตันชายเดี่ยวของจีนที่ได้แชมป์เยาวชนโลกและขึ้นชุดใหญ่ได้ก็ต้องย้อนไปเมื่อปี 2009 ที่ Tian Houwei เป็นแชมป์ แต่ก็ไปไม่ถึงดวงดาวเมื่อก้าวจึ้นมาเล่นชุดใหญ่ ขณะที่ Lin Guipu ที่ได้แชมป์ปี 2014 และ Sun Feixiang แชมป์ปี 2016 ก็ยังหาคนรู้จักแทบไม่ได้ในโลกแบดมินตันทุกวันนี้ |
กลับมาที่การแข่งขันปีนี้ที่เพิ่งจบ ซึ่ง 2 เหรียญทองที่จีนได้คือหญิงคู่ LIN Fang Ling / ZHOU Xin Ru ที่ชนะ Febriana Dwipuji KUSUMA / Amalia Cahaya PRATIWI จากอินโดนีเซียในรอบชิง 22-20 ,11-21 ,21-14 และคู่ผสม คือ FENG Yan Zhe / LIN Fang Ling ที่ชนะคู่มือหนึ่งของรายการ คือ Leo Rolly CARNANDO / Indah Cahya Sari JAMIL จากอินโดฯ 21-17, 21-17 ก็พอจะยืนยันได้ว่า จีนก็ยังมีนักกีฬาดาวรุ่งรอการพัฒา |
เช่นเดียวกับ DI Zi Jian / WANG Chang ชายคู่มือหนึ่งของรายการที่ได้รองแชมป์ และ ZHOU Meng หญิงเดี่ยวมือ 2 โลกที่ได้รองแชมป์ ก็ถือว่าทำผลงานได้ไม่ขี้เหร่มากนัก เพราะการแข่งขันระดับเยาวชนนั้น กล่าวได้ว่ายากที่จะคาดเดาผลการแข่งขันได้ เหมือนชายเดี่ยวที่ Christo POPOV นักแบดมินตันฝรั่งเศสทะลุมาถึงรอบชิงชนะเลิศแบบไม่มีใครคาดคิด |
ดังนั้น แม้จะได้แค่ 2 เหรียญทอง 2 เหรียญเงิน และ 4 เหรียญทองแดง แต่ที่สำคัญกว่ารางวัลก็คือ การแสดงให้เห็นว่าถึงเวลานี้ กองทัพนักกีฬาจีนยังมีทรัพยากรมากมายที่รอการเจียระไร |
ส่วนจะทำออกมาได้เป็น "เพชร" หรือไม่ ก็อยู่ที่โค้ชที่สมาคมแบดมินตันจีนเพิ่ง "ยกเครื่อง" อิมพอร์ตโค้ชนอกมากมายหลายคนมาดูแล และตัวของนักกีฬาเองว่าจะพัฒนาได้ดีแค่ไหน คงต้องรอดูการเติบโตของนักกีฬาจีนชุดนี้ต่อไปว่าจะไปได้ไกลแค่ไหน |