การแข่งขันแบดมินตันชิงแชมป์โลก TOTAL BWF World Championships 2019 ที่เมือง Basel ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ ที่จบไปเมื่อสุดสัปดาห์ มีประเด็นที่น่าสนใจ 5 เรื่องด้วยกัน
1. ชายเดี่ยวขาดเสน่ห์
การขาดหายไปของ SHI Yu Qi นักแบดมือ 3 ของโลก และViktor AXELSEN แชมป์เก่าปี 2017 ที่ยังรักษาอันดับ 6 ของโลกไว้เพราะได้รับบาดเจ็บทั้ง 2 คน ทำให้ดูเหมือนเส้นทางการคว้าแชมป์ของ Kento MOMOTA แชมป์เก่าและนักกีฬาแบดมินตันชายเดี่ยวของโลกจะ ”ง่ายดาย” มากขึ้น |
|
|
อีกเหตุผลก็คือ 2 อดีตแชมป์โอลิมปิกจากจีนทั้ง CHEN Long และ LIN Dan ก็ดูจะยังห่างไกลจากฟอร์มเก่ง ส่วน CHOU Tien Chen ที่น่าจะต่อกรกับมือหนึ่งโลกได้สูสีที่สุด ก็
”ล้า” เกินไปจากการลงสนามติดต่อกัน ขณะที่นักกีฬาจากญี่ปุ่นเลือกที่จะ
”พัก” รายการ Thailand Open เพื่อเตรียมตัวไปชิงแชมป์โลก
อย่างไรก็ตาม รายการนี้ “กัน”กันตภณ หวังเจริญ ของไทยและ Lee Zii Jia จากมาเลเซีย ก็เป็นปรากฎการณ์
”คลื่นลูกใหม่” ขึ้นมาให้โลกแบดมินตันรู้จัก
2. การกลับมาของอินเดีย
การคว้าแชมป์หญิงเดี่ยวของ PUSARLA V. Sindhu ถือเป็นการเปิดหน้าใหม่ของอินเดีย เพราะเธอเป็น
”แชมป์โลก” จากอินเดียคนแรก และเป็นนักกีฬาชาติที่ 11 ที่มีตำแหน่งเป็น
”แชมป์โลก” ในการแข่งขันที่ BWF จัดมา 25 ปีต่อจาก จีน, อินโดนีเซีย, เดนมาร์ค, เกาหลี, ญี่ปุ่น, สหรัฐอเมริกา, ประเทศไทย, อังกฤษ, สวีเดนและสเปน
ขณะที่
”อินเดีย” กลับมาอยู่ในวงในของการเป็นแชมป์ ก็เป็นการบ้านใหญ่ของมาเลเซีย ที่ถือเป็นชาติใหญ่ของวงการแบดมินตันเพียงชาติเดียวที่ไม่เคยมี
”แชมป์โลก”
3. ประกาศความพร้อมก่อนโอลิมปิก
|
|
การชิงชนะเลิศ 4 ประเภทและคว้าแชมป์ 2 ประเภทจาก Kento Momota ในประเภทชายเดี่ยว และ Mayu Matsumoto / Wakana Nagahara นักกีฬาหญิงคู่ที่ป้องกันแชมป์ได้ทั้งคู่ ขณะที่ Nozomi OKUHARA ได้รองแชมป์หญิงเดี่ยว Takuro HOKI / Yugo KOBAYASHI ได้รองแชมป์ชายคู่ และ Yuki FUKUSHIMA / Sayaka HIROTA ได้รองแชมป์หญิงคู่ ถือเป็นการประกาศว่าปีหน้า นักกีฬาญี่ปุ่นพร้อมแล้วสำหรับโอลิมปิก โตเกียว 2020 |
เพราะนอกจากนักกีฬาที่ขึ้นรับรางวัลแล้ว “ญี่ปุ่น” ยังมีกำลังสำรองชั้นดีอย่าง Akane YAMAGUCHI ที่ไปในฐานะมือหนึ่งโลกหญิงเดี่ยว Misaki MATSUTOMO / Ayaka TAKAHASHI แชมป์หญิงคู่โอลิมปิก 2016 Takeshi KAMURA / Keigo SONODA ชายคู่มือ4โลก และ Yuta WATANABE / Arisa HIGASHINO คู่ผสมมือ 3 โลกที่ได้เหรียญทองแดงศึกชิงแชมป์โลกครั้งนี้ |
|
|
4. ”สิงเฒ่า” กู้หน้าอินโดนีเซีย
แล้ว Hendra SETIAWAN / Mohammad AHSAN ชายคู่มือ 2 ของโลกในวัย 35 และ 31 ก็ประกาศความยิ่งใหญ่เมื่อคว้าแชมป์สมัยที่ 3 หลังจากเคยเป็นแชมป์โลกเมื่อปี 2013 และ 2015 หลังล้มเหลวจากโอลิมปิก 2016 และถูกแยกคู่ แต่ผลงานก็ไม่ดีขึ้น จึงกลับมาเริ่มต้นใหม่ด้วยอันดับโลกที่ 172 และสามารถกลับมาคว้าแชมป์ได้หลายการในปีนี้
อย่างไรก็ตาม แฟนแบดมินตันอินโดนีเซียและทั่วโลกยังเชื่อว่า Marcus Fernaldi GIDEON / Kevin Sanjaya SUKAMULJO ชายคู่มือหนึ่งโลก คือนักกีฬาชายคู่ที่ดีที่สุดในโลกในปัจจุบัน เพียงแต่
”แชมป์โลก” ยังไม่ใช่เวทีของพวกเขา
5. คู่ผสม คือเวทีที่ยังหาคู่ต่อกรยาก
อาจจะไม่มีใครแปลกใจที่ Zheng Siwei / Huang Yaqiong สามารถป้องกันแชมป์โลกอีกครั้ง เพราะทั้งคู่คือคู่ผสมที่ดีที่สุดในโลกในขณะนี้ |
|
|
อย่างไรก็ตาม การแข่งขันประเภทคู่ผสม เป็นประเภทเดียวที่
”บิ๊กโฟร์” เข้ามาถึงรอบรองชนะเลิศ โดยนอกจากคู่แชมป์โลกแล้ว ก็มี Wang Yilyu / Huang Dongping คู่มือ 2 โลกจากของจีน Yuta Watanabe / Arisa Higashino คู่มือ 3 โลกจากญี่ปุ่น และ ”บาส-ปอป้อ” เดชาพล พัววรานุเคราะห์ / ทรัพย์สิรี แต้รัตนชัย จากประเทศไทย
การที่
”บิ๊กโฟร์” สามารถรักษามาตรฐานในศึกชิงแชมป์โลกครั้งนี้ ทำให้เป็นงานยากของ CHAN Peng Soon / GOH Liu Ying คู่มือ 5 โลกจากมาเลเซีย Praveen JORDAN / Melati Daeva OKTAVIANTI คู่มือ 6 โลกจากอินโดนีเซีย และ SEO Seung Jae / CHAE YuJung คู่มือ 7 โลกจากเกาหลี แต่นั่นคือความท้าทายทั้งการป้องกันแชมป์และการชิงแชมป์...ในรายการต่อไป
และนั่นคือเสน่ห์ที่ทำให้
”แบดมินตัน” คือกีฬาที่ตื่นเต้นที่สุดในโลก