สำหรับ”แบดมินตัน” เป้าหมายสำคัญของสมาคมแบดมินตันทั่วโลกก็คือเหรียญรางวัล เพราะการแข่งขันที่มี 4 ปีครั้ง และเป็นกีฬาแห่งมวลมนุษยชาติ การมีเหรียญรางวัล โดยเฉพาะ”เหรียญทอง” ถือเป็นเป้าหมายใหญ่สุดของนักกีฬา ไม่ใช่เฉพาะนักแบดมินตันเท่านั้น
ความยิ่งใหญ่ของโอลิมปิก ทำให้สหพันธ์แบดมินตันโลก(BWF) ก็ถือว่า”แชมป์” หรือเจ้าของเหรียญทองแบดมินตันโอลิมปิกคือ”แชมป์โลก โดยให้ปีที่มีการแข่งขันโอลิมปิก ไม่มีการแข่งขันชิงแชมป์โลก BWF World Championships และนักกีฬาหลายคนก็มองว่านี่คือ”เป้าหมาย”ที่ใหญ่กว่าแชมป์โลก เพราะแชมป์โลกมีแข่งทุกปี แต่โอลิมปิก จะมี 4 ปีครั้ง
เหลือเวลาอีกเพียงหนึ่งปีเศษ โตเกียว 2020 จะเริ่มต้น และนั่นคือการบ้านข้อใหญ่ที่สุดของญี่ปุ่น ที่มีสถานะเป็น”เจ้าภาพ” ที่มุ่งเป้าหมายเหรียญทองให้มากที่สุด โดยเฉพาะชายเดี่ยวและหญิงคู่
การพ่ายแพ้ในศึก TOTAL BWF Sudirman Cup 2019 เมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา ทำให้นี่คือโจทย์ใหญ่ที่สมาคมแบดมินตันญี่ปุ่นจะต้องหาคำตอบโดยเร็วว่าทำไมถึงพ่ายแพ้จีนในรอบชิงชนะเลิศแบบหมดรูป 0-3 ทั้งที่วางแผนอย่างดี โดยมองว่าน่าจะยืดเยื้อถึงคู่ที่ 5 ในประเภทคู่ผสม โดยสามารถเก็บ 2 คะแนนสำคัญคือชายเดี่ยวและหญิงคู่ แถมหากชนะหญิงเดี่ยวก็จะคว้าแชมป์ |
|
|
|
|
ขณะที่”จีน” ถือว่าเป็นความสำเร็จในเบื้องต้น แม้อาจจะยังไม่ถึงการวางใจ โดยเฉพาะในประเภทหญิงเดี่ยว ที่ยังไม่ถึงกับมั่นใจ 100% เหมือนยุค”สองหวังหนึ่งลี”ว่าจะต้องมีคนใดคนหนึ่งเข้าไปถึงรอบชิงชนะเลิศหรือคว้าแชมป์ แต่ก็ถือว่าการ”เตรียมคน”ตั้งแต่จบโอลิมปิก 2016 เริ่มเห็นผลบ้างแล้ว
กลับมาที่ประเทศไทย ....เป้าหมายของการคว้าเหรียญทองนั้น เชื่อว่าสมาคมแบดมินตันแห่งประเทศไทยมีความมุ่งมั่นมากแน่นอน แต่จะทำได้แค่ไหนยังต้องเพิ่มความมุ่งมั่นเพื่อทำความฝันให้เป็นความจริง โดยระยะเวลาเพียงหนึ่งปีเศษ ก็ไม่น้อยที่จะลงมือทำ แต่ไม่มากพอที่จะเริ่มต้นนับหนึ่ง |
พูดตรงๆตามผลงาน นักกีฬาไทยที่มีสิทธิ์คว้าเหรียญรางวัลในขณะนี้ มีเพียงประเภทหญิงเดี่ยว “เมย์”รัชนก อินทนนท์ ซึ่งทำผลงานปีนี้ได้ดี คว้า 2 แชมป์ Superseries รายการ PERODUA MALAYSIA MASTERS 2019 และ YONEX-SUNRISE INDIA OPEN 2019และคู่ผสม “บาส-ปอป้อ” เดชาพล พัววรานุเคราะห์ / ทรัพย์สิรี แต้รัตนชัย ที่คว้าแชมป์ใหญ่คือ SINGAPORE OPEN 2019 และรองแชมป์ PERODUA MALAYSIA MASTERS 2019 |
|
|
|
|
ส่วนนักกีฬาคนอื่นๆ ก็ใช่ว่าจะไม่มีโอกาส หากแต่ต้องสนับสนุนและส่งเสริมพัฒนาอย่างจริงจัง
ในประเภทชายเดี่ยว ผลงานของ”กัน”กันตภณ หวังเจริญ นักแบดมินตันชายเดี่ยวมือ 17 ของโลก ก็แสดงให้เห็นถึงพัฒนาการข้ามขั้นที่รวดเร็ว สามารถโชว์ผลงานดีต่อเนื่อง นับตั้งแต่คว้าสิทธิ์ไปแข่งขันรายการ HSBC BWF World Tour Finals 2018 เมื่อปลายปีก่อน จนแฟนแบดมินตันทั่วโลกที่ได้ชม ยังตื่นตาตื่นใจกับผลงานนักแบดมินตัน”โนเนม”จากประเทศไทย |
ตอนนี้มีเพียงเพิ่มพละกำลัง เสริมความแข็งแรง และเทคนิค ที่เมื่อสามารถบวกกับ”ความมั่นใจ”จนดูก้าวร้าวของเด็กหนุ่มวัย 20 คนนี้ก็ถือเป็นดาวดวงใหม่ในวงการแบดมินตันชายเดี่ยวโลกแน่นอน
ในประเภทหญิงเดี่ยว นอกจาก”เมย์”รัชนก อินทนนท์ ก็จะมี “หมิว”พรปวีณ์ ช่อชูวงศ์ นักแบดมินตันหญิงเดี่ยวมือ 19 ของโลก ที่อาจจะต้องขับเคี่ยวกับ “ครีม”บุศนันทน์ อึ๊งบำรุงพันธ์ นักแบดมินตันมือ 23 โลก ที่จะต้องแข่งขันกันเองเพื่อเป็นนักกีฬาไทยในประเภทหญิงเดี่ยวที่คว้าสิทธิ์ไปโตเกียว 2020
กรณีของ”หมิว” เป็นเรื่องละเอียดอ่อน ที่กำลังมีปัญหาทางใจกับสมาคมแบดมินตันฯ ที่เชื่อว่าแฟนแบดมินตันชาวไทยทุกคนต่างภาวนาและเอาใจช่วยให้ทั้งสองฝ่ายสามารถตกลงกันได้ด้วยดี เพราะจะเป็น Win-Win Game คือต่างก็ได้ทั้งคู่
กรณีของ”หมิว”อยากยกตัวอย่างของสมาคมแบดมินตันมาเลเซีย ที่ตัดสินใจยอมปล่อย GOH V Shem / TAN Wee Kiong นักแบดมินตันชายเดี่ยวมือ 15 ของโลก เจ้าของเหรียญเงินโอลิมปิก 2016 กับ CHAN Peng Soon / GOH Liu Ying คู่ผสมมือ 5 ของโลกออกจากการฝึกซ้อมและเป็นสังกัดของสมาคมแบดมินตันฯ โดยมองว่า การลาออกจากสมาคมไปเป็นนักกีฬาอิสระ ฝึกซ้อมเอง ไปแข่งขันเอง ทำให้พวกเขาสามารถพัฒนาไปอีกระดับ โดยนักกีฬาและสมาคมฯ มีข้อตกลงทางใจกันว่า หากผลงานดีและได้โควตา สมาคมก็จะส่งไปแข่งขันโอลิมปิก 2020
เช่นเดียวกับ”หมิว” ที่นักกีฬามองตัวเองว่าการฝึกซ้อมในสมาคมฯ ไม่สามารถพัฒนายกระดับฝีมือได้ จึงขอลาออกจากสมาคมไปเป็นนักกีฬาในสังกัดสโมสร เพื่อพัฒนาตัวเอง เพราะมองว่าตัวเองยังมีอีกหลายจุด(อ่อน)ที่จะต้องแก้ไข จึงอยากเห็นสมาคมแบดมินตันฯกับ”หมิว”สามารถตกลงหาคำตอบที่ดีที่สุดของทั้ง 2 ฝ่าย
เมื่อออกจากสมาคมฯ “หมิว”ก็ยังสามารถไปแข้งขันในฐานะนักกีฬาทีมชาติไทยได้ เช่นเดียวกับ”เมย์”รัชนก นักกีฬาของ”บ้านทองหยอด” หรือ”บาส-ปอป้อ” นักกีฬาของ SCG
|
|
เมื่อทั้งคู่มีเป้าหมายตรงกัน จึงขอให้กำลังใจให้การเจรจาหาทางออกเป็นไปด้วยไมตรีจิตที่”ผู้ใหญ่”มอบให้เด็กๆ
ส่วนนักกีฬาอีก 2 ประเภทคือชายคู่และหญิงคู่ ต้องยอมรับความจริงว่าเป็น 2 ประเภทที่”ยาก”สำหรับการได้เหรียญรางวัล โดยในประเภทชายคู่ ถึงตอนนี้ “อาร์ท-เอ”บดินทร์ อิสสระ / มณีพงษ์ จงจิตร ชายคู่มือ 33 โลก เป็นคู่ที่อันดับโลกดีที่สุด แต่ถึงตอนนี้ โควตาไปโอลิมปิก RACE TO TOKYO - BWF OLYMPIC QUALIFICATION ยังอยู่ที่อันดับ 59 และการเป็นนักกีฬาอิสระ ทำให้ไม่สามารถไปร่วมแข่งขันหลายรายการ จึงยากที่จะเร่งทำคะแนนสะสมหรือผลงานอออกมา |
ขณะที่”ติน-ดีโก้” ติณณ์ อิสริยะเนตร / กิตติศักดิ์ นามเดช การบาดเจ็บของ”ดีโก้”ทำให้คะแนนสะสม RACE TO TOKYO - BWF OLYMPIC QUALIFICATION ยังไม่มี ดังนั้น สิ่งแรกที่ต้องคิดก็คือ จะต้องเร่งให้”ดีโก้”กลับมาสมบูรณ์เพื่อเร่งทำผลงานและคะแนนสะสมโดยเร็ว |
|
|
|
|
ส่วนในประเภทหญิงคู่"กิ๊ฟ-วิว" จงกลพรรณ กิติธรากุล / รวินดา ประจงใจ คู่มือ 9 ของโลก มีคะแนนสะสมไปโอลิมปิกอยู่อันดับ 14 แต่ได้โควตาที่ 12 ซึ่งหมายถึงโอกาสได้ไปร่วมแข่งขันน่าจะ 100% แต่ต้องยอมรับว่าในประเภทนี้ ยังต้องถือว่าจีนกับญี่ปุ่นเป็นคู่ที่ต่อกรกันเอง และในเวลาหนึ่งปีที่”กิ๊ฟ-วิว”จะต้องเร่งพัฒนาทุกด้าน ก็ต้องไม่ลืมว่า หญิงคู่ญี่ปุ่นที่มีถึง 4 คู่ในทอปเทนโลก และจีนอีก 2 คู่ ก็ไม่ได้หยุดพัฒนาเพื่อรอนักกีฬาชาติอื่น |
นี่จึงเป็นการบ้านเบื้องต้นของการเตรียมพร้อมสำหรับทีมชาติไทยในโอลิมปิก 2020 ที่ Badmintonthaitoday ได้นำเสนอในตอนแรก