รู้จริง รู้ลึก รู้ทัน ทุกความเคลื่อนไหวของวงการแบดมินตันอ่าน Badminton Thai Today
ข่าวสารและกิจกรรม
“สโมสร”... สิ่งที่มาเลเซียนำมาทบทวนอีกครั้ง
  5 ก.ย. 2561
แบ่งปัน



สำหรับมาเลเซียแล้ว คนทั้งประเทศถือว่า ”แบดมินตัน” เป็นหนึ่งในกีฬาแห่งความภาคภูมิใจ เพราะนักแบดมินตันมาเลเซีย อยู่ในแถวหน้าของกีฬาลูกขนไก่โลก และมีแชมป์มากมายมาเนิ่นนาน
 
  แต่ในปี 2018 ถือเป็นปีเริ่มต้นแห่งความล้มเหลว นับตั้งแต่ศึก Commonwealth Games ที่แม้จะมีเหรียญทองจาก Lee Chong Wei ในประเภทชายเดี่ยวและ Chow Mei Kuan - Vivian Hoo ในประเภทหญิงคู่ แต่ในประเภททีม กลับพ่าย ”อินเดีย” ได้แค่เหรียญเงิน
 
จากนั้น ในศึก Thomas&Uber Cup ทีมมาเลเซียก็ผิดหวังมาก ตามมาด้วยศึกชิงแชมป์โลก ที่นักแบดมินตันมาเลเซียไม่สามารถผ่านมาถึงรอบลึกๆได้ และล่าสุด ในการแข่งขัน Asian Games ที่เพื่งจบ นักแบดมินตันมาเลเซียก็ไร้เหรียญรางวัลทุกเหรียญ  

ล่าสุด สมาคมแบดมินตันมาเลเซียได้กลับมาพิจารณาอีกครั้งถึงการทำงานของโค้ช ว่าเหมาะสมแค่ไหน โดยในปัจจุบัน ทีมแบดมินตันมาเลเซียมีโค้ช 5 คนคือ Datuk Misbun Sidek จะดูชายเดี่ยว Datuk Tey Seu Bock ดูแลหญิงเดี่ยว, Paulus Firman ดูแลชายคู่  Rosman Razak ดูแลหญิงคู่ และ Pang Cheh Chang ดูแลประเภทผสม
 
  โดยทั้ง 5 คน รับงานเมื่อ Morten Frost พ้นจากตำแหน่งผู้อำนวยการฝ่ายเทคนิคเมื่อเดือนกันยายน และกลายเป็นการเริ่มความถดถอยของทีมแบดมินตันมาเลเซีย ทำให้สมาคมแบดมินตันมาเลเซีย ต้องมีการเตรียมเรียกประชุมเพื่อหารือว่าทำไมปี 2016 ทีมแบดมินตันมาเลเซียที่มีอดีตมือ 1 โลกเป็นผู้อำนวยการ นักกีฬามาเลเซียได้ถึง 3 เหรียญเงิน แต่ผู้เล่นชุดเดียวกัน”ล้มเหลว”แทบทุกรายการเมื่อชาวมาเลเซียดูแลกันเอง
 
หนึ่งในประเด็นสำคัญของการเตรียมการประชุมก็คือ ทีมงานโค้ชปัจจุบันของมาเลเซีย ”เก่งจริง” หรือไม่ และอีกประเด็นก็คือ การทำงานของโค้ชสมาคม จะเป็นระบบ ”ไม่เต็มเวลา” เหมือนโค้ชหลายประเทศ คือ อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น จีน อินเดียและไต้หวัน  

Ng Chin Chai ประธานคณะกรรมการการฝึกซ้อมของสมาคมแบดมินตันมาเลเซีย ระบุว่า ทีมงานโค้ชมาเลเซียในปัจจุบัน ไม่ได้ทำงานเต็มเวลา เพราะมีภาระผูกพันอื่นๆ ที่ควรจะนำมาพิจารณาว่าจะแก้ปัญหาอย่างไร
 
  ก่อนหน้านี้ เมื่อครั้งที่มาเลเซียล้มเหลวในศึก Thomas&Uber Cup ที่ประเทศไทยเมื่อเดือนพฤษภาคม Datuk Sieh Kok Chi อดีตนายกสภาโอลิมปิกแห่งมาเลเซีย (PICC) กล่าวว่า ถึงเวลาแล้วที่มาเลเซียจะต้อง ”กระจายอำนาจ” เพื่อหาความสำเร็จ โดยให้สโมสรต่างๆเป็นผู้รับผิดชอบการฝึกซ้อมและดูแลนักกีฬา ไม่ใช่สมาคม ที่ทีมงานไม่ทำงานเต็มเวลาเหมือนสโมสรต่างๆ
 
“เราจำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลงหลังจากผลการแข่งขันไม่เป็นไปตามเป้าหมาย เพราะความล้มเหลวเกิดขึ้นจากการขาดความพยายามในการพัฒนาและยกระดับความสามารถในระดับรากหญ้าทั้งๆที่เราเป็นเป็นประเทศแบดมินตัน”  Datuk Sieh Kok Chi กล่าวถึงการทำงานของสมาคมแบดมินตันที่เขามองว่าการตัดสินใจอยู่กับกลุ่มคนไม่กี่คนที่อยู่ในระดับสูงสุด  
 
  อดีตนายกสภาโอลิมปิกแห่งมาเลเซียมองว่า แนวคิดที่ทีมแบดมินตันมาเลเซียควรจะให้ความสำคัญกับสโมสร ก็คือ หลายสโมสรมีผู้เล่นที่มีพรสวรรค์หลายคน แต่ยังไม่ถูกเลือกมาจากทีมงานสมาคม จึงควรดูรูปแบบการทำงานของทีมฟุตบอลชาติต่างๆในยุโรป

“ทีมชาติอังกฤษ เขาเรียกผู้เล่นมาซ้อมหนึ่งสัปดาห์ก่อนที่จะไปแข่งขัน พวกเขาไม่ได้ผลิตผู้เล่นตลอด ก็เหมือนกับ Lionel Messi เขาเล่นให้กับทีมชาติอาร์เจนติน่า แต่เขาเป็นผลงานของบาร์เซโลน่า ทำไมมาเลเซียไม่นำเรื่องนี้มาทำงานในทีมแบดมินตัน”

Cr. The Star
ข่าวสารและกิจกรรมอื่นๆ