ทุกวันนี้ แบดมินตันเป็นเกมกีฬาที่ "เล่นหนัก" นั่นคือมีการแข่งขันทุกสัปดาห์ จึงต้องมีการวางแผนอย่างดี ตั้งแต่สมาคมลงไปจนถึงนักกีฬา เพื่อให้ "พร้อม" ที่จะลงสนามที่แทบจะไม่ได้พัก
เพื่อให้ "พร้อมที่สุด" สำหรับนักกีฬา ทำให้ "วิทยาศาสตร์การกีฬา" เป็นสิ่งสำคัญสำหรับนักกีฬา และกล่าวได้ว่า เพิ่งจะมีไม่นานมานี้เอง ที่"นักวิทยาศาสตร์การกีฬา" เข้ามามีบทบาท
เพื่อให้เข้าใจ ขออธิบายนิดหนึ่งว่า วิทยาศาสตร์การกีฬา หรือ Sport science เป็นศาสตร์ที่ว่าด้วยความรู้ที่ได้จากการศึกษาค้นคว้าแล้วนำหลักการทางวิทยาศาสตร์ มาใช้ร่วมกับเทคนิคเฉพาะทาง เพื่อพัฒนาศักยภาพร่างกายของนักกีฬาให้สามารถเล่นกีฬาได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเป็นวิทยาศาสตร์ประยุกต์ที่นำหลักวิชาต่างๆ เช่น กายวิภาคศาสตร์ สรีรวิทยาการออกกำลังกาย การแพทย์ โภชนาการ จิตวิทยา วิทยาศาสตร์การเทคโนโลยีต่างๆ มาประยุกต์ใช้ในการออกกำลังกาย การฝึกซ้อม การแข่งขันกีฬา ตลอดจนการดูแลสุขภาพร่างกายอย่างเป็นขั้นตอน |
|
|
จะเห็นได้ว่า"นักวิทยาศาสตร์การกีฬา" เป็นคนสำคัญ แต่ไม่ค่อยมีใครรู้จัก เพราะในการแข่งขัน นอกจากนักกีฬาแล้ว คนที่จะถูกนึกถึงก็คือ "โค้ช" โดยไม่มีใครถามว่า ใครคือนักวิทยาศาสตร์การกีฬา
สำหรับทีมแบดมินตันไทย ถือเป็นโชคดีที่ในวันนี้ มี "วรเมธ ประจงใจ" หรือ "ครูโม" มาดูแลด้านนี้ให้นักกีฬา
|
|
"ครูโม" สนใจเรื่องนี้มานาน โดยได้เรียนรู้รูปแบบการฝึกนักกีฬามาจาก รศ.ดร. เจริญ กระบวนรัตน์ และเมื่อชอบแนวทางนี้ โมจึงตัดสินใจเรียน วิทยาศาสตร์การกีฬา สาขา coaching มหาวิทยาลัยมหิดล และเมื่อเรียนจบ ก็ไปทำงานที่ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (ประเทศไทย) หรือ สกอ แต่พอทางหน่วยงาน สกอ.ยุบ "ครูโม" ก้อไปทำงานกับสมาคมแบดฯ แต่ก็ไม่ได้รับความสนใจมากนัก เพราะสมาคมแบดมินตันฯในตอนนั้นยังไม่สนใจเรื่อง"วิทยาศาตร์การกีฬา"
|
แต่ "ครูโม" เชื่อมั่นเรื่องนี้มาก จึงมุ่งมั่นจริงจัง และเรียนด้านCoaching จนจบปริญญาโท และกำลังเรียนปริญญาเอกด้านนี้อยู่ที่จุฬาฯ
ทั้งๆ ที่ไม่ได้รับการสนับสนุนมากนัก แต่ "ผลงาน" ของครูโมในเรื่อง "วิทยาศาสตร์การกีฬา" เห็นผลได้ดี โดยเฉพาะสภาพร่างกายของนักกีฬาในทุกวันนี้ ที่ยังอยู่ในช่วงพักฟื้นหลังจบการแข่งขันโอลิมปิก
ที่เห็นได้ชัดเจนก็คือ ผลงานของนักแบดไทยในการแข่งขันซูเปอร์ซีรีส์ 2 รายการที่เดนมาร์คและฝรั่งเศส ที่นักแบดมินตันไทยสามารถทำผลงานได้ดี ผ่านเข้าไปถึงรอบรองและรอบชิงได้หลายประเภททั้ง 2 รายการ โดยนักกีฬาแทบจะไม่ได้พัก แต่ก็รักษาสภาพร่างกายจนผ่านเข้าไปถึงรอบชิงฯได้ ครูโมได้ร่วมทำงานกับสมาคมแบดฯมากว่า 7 ปี
ความสำเร็จที่อาจจะกล่าวได้ว่าเป็นยุคเริ่มนับหนึ่งของ" วิทยาศาสตร์การกีฬา "ของไทย ต้องถือว่า "วรเมธ ประจงใจ" เป็นคนเริ่มต้นให้กับสมาคมกีฬาแบดมินตันไทย |
|
|