ขณะที่”จีน”ถือว่ายังรักษาผลงานได้ในระดับน่าพอใจ เพราะยังมี”แชมป์”ติดมือกลับประเทศ ต่างจาก”เจ้าภาพ”เกาหลี ที่เป็น”มหกรรมอกหัก”ครั้งใหญ่ เพราะย้อนไปเมื่อเดือนพฤษภาคมปีนี้ เกาหลีคือ”แชมป์ 2017 Sudirman Cup” แต่เวลาผ่านไปเพียง 3-4 เดือน ศึกชิงแชมป์โลกและซูเปอร์ซีรีส์ นักแบดมินตันเกาหลีกลับไม่มีผลงาน”แชมป์”ให้กองเชียร์ชื่นชม |
ต่างจากอินโดนีเซียที่กำลังกลับมาทวงความยิ่งใหญ่ โดยเฉพาะการมาคว้าแชมป์ซูปอร์ซีรีส์ที่เกาหลี 2 ประเภท คือ คู่ผสม จาก Praveen JORDAN กับ Debby SUSANTO และชายเดี่ยวจาก Anthony Sinisuka GINTING ขณะที่ Jonatan CHRISTIE ได้”รองแชมป์”ชายเดี่ยว และ Marcus Fernaldi GIDEON กับ Kevin Sanjaya SUKAMULJO ได้รองแชมป์ชายคู่ |
คำว่า”ขนาดของทีม”ในทุกวันนี้ เป็นเรื่องสำคัญ และ”มาเลเซีย” เป็นประเทศแรกๆที่เริ่มนโยบายนี้ ภายใต้การดูแลของ Morten Frost ผู้อำนวยการฝ่ายเทคนิคสมาคมแบดมินตันมาเลเซีย ที่เริ่มหานักแบดมินตันหน้าใหม่มาป้อนทีมชาติ แต่ยังไม่เห็นผล และผลงานในซีเกมส์ในบ้านเองก็”ล้มเหลว”อย่างชัดเจน |
ความสำเร็จของการเพิ่ม”ขนาดของทีม”ของอินโดนีเซีย เห็นได้จากศึก Grand Prix รายการก่อนหน้านี้ คือ YONEX SUNRISE VIETNAM OPEN 2017 ที่เวียดนาม ซึ่งนักแบดมินตันหน้าใหม่ของอินโดนีเซีย สร้างผลงานได้น่าสนใจ คือ Wahyu Nayaka Arya Pangkaryanira กับ Ade Yusuf Santoso คว้าแชมป์ชายคู่ ขณะที่ Alfian Eko Prasetya กับ Melati Daeva Oktavianti เป็นแชมป์คู่ผสม โดยชนะเพื่อนร่วมชาติคือ Riky Widianto กับ Masita Mahmudin และ Della Destiara Haris กับ Rizki Amelia Pradipta เป็นรองแชมป์หญิงคู่หลังพ่ายคู่ของไทย”เบสท์-จ๋อมแจ๋ม” |
รายการ Grand Prix ที่เวียดนาม เป็นตัวอย่างที่ดีของการ”เพิ่มขนาดทีม” โดยที่เวียดนาม จะเห็นนักกีฬาจากอินโดนีเซีย ญี่ปุ่น ไต้หวัน ส่งนักกีฬาหน้าใหม่ไปร่วมแข่งขันมากมาย และก็สามารถผ่านเข้ารอบลึกๆจนถึงวันสุดท้าย รวมทั้งมีได้แชมป์และรองแชมป์ ปัจจุบัน แบดมินตันมีการแข่งขันที่หนักขึ้น รวมทั้งมหกรรมต่างๆเช่น โอลิมปิก เอเชียนส์เกม หรืออย่างซีเกมส์ที่ผ่านมา ทำให้หลายประเทศมองและเห็นความสำคัญของการเพิ่มขนาดทีม เช่น อินโดนีเซียและมาเลเซียที่กำลังทำอยู่ |
การเพิ่มขนาดทีม หมายถึงการมีนักแบดมินตันหน้าใหม่และมือใหม่มากดดันให้นักแบดมินตันคนเดิมที่มักจะเป็นตัวเลือกแรกๆในทีมชาติขาดแรงกระตุ้นให้เร่งพัฒนาฝีมือ เพราะมั่นใจว่าถึงอย่างไรตัวเองก็เป็น”ตัวเลือกแรก”ของการถูกส่งไปแข่งขัน แต่เมื่อมี”มือใหม่”มาท้าทาย นักกีฬาหน้าเดิมก็จำเป็นต้องเร่งพัฒนาผลงานเพื่อให้ทีมงานโค้ชยังมั่นใจฝีมือตัวเอง |