|
|
|
|
|
|
แล้วทำไมต้องเรื่องมากกับการโฆษณาบนเครื่องแต่งกาย? การที่กีฬาแบดมินตันเป็นที่นิยมในปัจจุบันนี้นั่นก็มาจากการวางระบบการจัดการด้านการโฆษณาที่เป็นเยี่ยม ซึ่งการโฆษณาบนเครื่องแต่งกายต่างๆ ของนักกีฬาก็เป็นหนึ่งในการบริหารจัดการที่ BWF มักจะให้ความสำคัญเป็นอันดับต้น ๆ เพราะเมื่อนักกีฬาสวมใส่เครื่องแต่งกายลงสู่สนาม ผู้ชมจะจับจ้องไปที่ตัวของนักกีฬาซึ่งจะเสพสื่อโฆษณานั้น ๆ ไปด้วย ฉะนั้นการแข่งขันทางด้านสื่อโฆษณาจึงมีอิทธิพลเป็นอย่างยิ่ง จึงต้องมีระบบการจัดการที่ดีบนพื้นฐานของความเท่าเทียมของทุก ๆ ฝ่าย |
|
ความกล้าที่จะตัดสินใจในสิ่งที่ถูกต้อง ผู้ตัดสินไทยเมื่อลงปฏิบัติหน้าที่ในสนาม โดยเฉพาะรายการในประเทศไทย มักจะไม่ค่อยกล้าลงมือจัดการกับความผิดของนักกีฬาเท่าที่ควร โดยเฉพาะในเรื่องของเมื่อนักกีฬาพยายามถ่วงเวลาการแข่งขัน ไม่ว่าจะเป็นการพยายามเดินวนรอบสนาม , ขอเช็ดเหงื่อ , ดื่มน้ำ , ผูกเชือกรองเท้าทั้ง ๆ ที่ไม่ได้มีความจำเป็น ซึ่งมักจะไม่ค่อยให้ความสำคัญเรื่องดังกล่าว ในส่วนนี้ผู้ตัดสินต้องเตือน และดำเนินการอย่างเคร่งครัดกับนักกีฬา เพราะส่วนหนึ่งนักกีฬาของไทยมักมีโอกาสได้ไปแข่งขันในต่างประเทศบ่อยครั้งขึ้น นักกีฬาเหล่านี้จะได้คุ้นเคยกับแนวปฏิบัติในการตัดสินทัดเทียมกับระดับนานาชาติ |
ลูกเสิร์ฟหน้าไม่ต้องจับ ในเมืองไทยผู้ตัดสินเราเองมักไม่ค่อยจับลูกเสิร์ฟหน้าเท่าที่ควร อาจด้วยเหตุผลส่วนตัวของ ผู้ตัดสินแต่ละคนว่า “ไม่ได้เป็นการเอาเปรียบนักกีฬาฝ่ายตรงข้าม” ซึ่งนั่นเป็นความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องเท่าที่ควรนัก เพราะตามกติกาการส่งลูกไม่เคยพูดถึงเรื่องการได้เปรียบเสียเปรียบ แต่พูดถึงการส่งลูกเสียในลักษณะต่าง ๆ ไม่ว่านักกีฬาจะทำการส่งลูกในรูปแบบใดถ้าเขาทำผิด ต้องกล้าที่จะจับ กล้าที่จะเตือนเพื่อให้นักกีฬาทราบความผิดพลาด และนำกลับไปแก้ไขการส่งลูกให้ถูกต้อง |
สวัสดีครับ อาจารย์ช่วยแนะนำตัวเองให้แฟนๆแบดมินตัน และสมาชิก Badmintonthaitoday ได้รู้จักหน่อยครับ | |
สวัสดีครับ ผมชื่อนาย อริญชย์ นิลสกุล ครับ เป็นคนจังหวัดลพบุรี ปัจจุบันอายุ 29 ปี ปัจจุบันทำงานในตำแหน่งอาจารย์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรีครับ | |
ตอนนี้อาจารย์อยู่ในวงการผู้ตัดสินมากี่ปีแล้วครับ | |
ผมเข้ามาอบรมเป็นผู้ตัดสินแบดมินตันตั้งแต่ปี 2007 ตั้งแต่สมัยเป็นนิสิตอยู่ที่มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ และสอบเป็นผู้ตัดสินนานาชาติ ระดับ Badminton Asia Accredited ในปี 2013 ครับ ตอนนี้ก็อยู่มาครบ 10 ปีแล้วครับ |
เราไม่ค่อยจะเห็นผู้ตัดสินชาวไทย ไปทำหน้าที่ในรายการต่างประเทศ การจะเป็นผู้ตัดสินกีฬาแบดมินตันเพื่อไปตัดสินต่างประเทศต้องทำอย่างไรบ้าง และปัจจุบันมีผู้ตัดสินในเมืองไทยที่สามารถไปตัดสินต่างประเทศได้กี่คนครับ | |
ก่อนอื่นต้องเข้าอบรมเป็นผู้ตัดสินที่สมาคมกีฬาแบดมินตันแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์เป็นผู้จัดหรือรับรอง ผ่านการเป็นผู้ตัดสินระดับ 3 , ระดับ 2 , และระดับ 1 ตามลำดับก็จะใช้เวลาประมาณ 4 ปี เมื่อขึ้นเป็นผู้ตัดสินระดับ 1 และมีความสามารถในการสื่อสารภาษาอังกฤษ ก็จะได้รับการคัดเลือกจากสมาคมฯส่งไปสอบเป็นผู้ตัดสินกีฬาแบดมินตันนานาชาติ ของสหพันธ์แบดมินตันแห่งเอเชีย ซึ่งเป็นขั้นเริ่มต้นของผู้ตัดสินทุกประเทศจากทางแถบเอเชีย บางปีที่ผู้ตัดสินมีหลายท่าน อาจมีการสอบข้อเขียนคัดเลือก |
การตัดสินในแมตช์ที่มีทีมเจ้าภาพลงทำการแข่งขันที่มีแรงกดจากกองเชียร์มาก ๆ จะทำอย่างไร รบกวนช่วยแนะนำกรรมการรุ่นน้องให้หน่อยครับ | |
สิ่งหนึ่งที่จะช่วยผู้ตัดสินทุกคนได้คือ ผู้ตัดสินทุกคนต้องเป็นผู้ที่เข้าใจในกฎ และกติกาแบดมินตันอย่างลึกซึ้งเสียก่อน เมื่อเข้าใจกับมันอย่างถ่องแท้ผสมผสานกับการฝึกฝนด้านการตัดสินอยู่สม่ำเสมอ แล้วเราลงปฏิบัติหน้าที่ในสนาม จะช่วยลดเวลาในการตัดสินใจกับปัญหาในสนาม โดยส่วนตัวของผมแล้วนั้นผมจะไม่ค่อยซีเรียสมากครับ จะคิดเพียงแค่ลงไปทำหน้าที่ของเราให้ดีที่สุด ไม่ขาดตกบกพร่องแค่นั้นก็ประสบความสำเร็จแล้ว |
เป็นเรื่องปกติเลย ที่เมื่อเจอนักกีฬาที่มากประสบการณ์แล้วตุกติกกับเกมการแข่งขันอาจารย์จะมีวิธีรับมืออย่างไรครับ | |
การเป็นผู้ตัดสินไม่ใช่เพียงแค่ไปนั่งกลางสนามแล้วคอยนับแต้มเพียงเท่านั้น การจะรู้วิธีและแทคติกต่าง ๆ ของนักกีฬา ส่วนหนึ่งผู้ตัดสินต้องศึกษาเองไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง ส่วนตัวของผมเองนั้นมักจะเล่นแบดมินตันเป็นประจำช่วงเย็นหลังเลิกงาน ไม่ใช่แค่เล่นออกกำลังกายไปวัน ๆ เท่านั้น บางครั้งจะเร่งจังหวะเกมของตัวเองให้ถึงจุดเหนื่อยที่มากพอสำหรับตัวเอง แล้วด้วยประสบการณ์ที่เกิดจากการลงมือทำของเรา เราจะรู้ด้วยตัวเองโดยสัญชาติญาณของเราว่า เวลานักกีฬาเขาเหนื่อย เขาจะมีการแสดงออกอย่างไรบ้าง แล้วถ้าเกมเบียด ๆ อากัปกริยาแบบไหนที่เขามักจะแสดงออกเพื่อพยายามข่มขู่ฝ่ายตรงข้าม ซึ่งถ้าผู้ตัดสินไม่ใช่คนเล่นแบดมินตันแล้วนั้น เป็นเรื่องยากมากที่จะเข้าใจจุดเหล่านั้นครับ พักหลังมานี้ผมเองมักไม่ค่อยเจอปัญหานักกีฬาลองของใส่เท่าไหร่ ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะเราก็เติบโตกับวงการนี้มาพร้อมกับนักกีฬาระดับต้น ๆ ของประเทศไทยในปัจจุบัน ทำให้อาจเกิดความเกรงใจซึ่งกันและกันนั่นก็ส่วนหนึ่ง ประกอบกับปัจจุบันผมมักได้รับหน้าที่เป็นวิทยากรอบรมผู้ตัดสินใหม่ตามสถานที่ต่าง ๆ บ่อยครั้ง ทำให้เราได้ทบทวนกติกาอยู่สม่ำเสมอ จึงมักไม่ค่อยผิดพลาดในเรื่องการทำงานมากเท่าไหร่ (แต่มักตกม้าตายเมื่อต้องตัดสินเด็กตัวน้อย ๆ อายุ 10 ปีลงไปทุกที 5555) ซึ่งส่วนหนึ่งของการจัดการปัญหาในสนามที่ดีได้นั้นเกิดขึ้นจากประสบการณ์ของผู้ตัดสินนั่นเอง |
สิ่งที่อาจารย์อยากให้นักกีฬาไทยพัฒนาให้ทันกับระบบการตัดสิน มีอะไรบ้างครับ | |
ปัจจุบันนักกีฬาไทยปรับเข้าตามระบบได้ดีอยู่แล้วครับ แต่ยังมีอยู่บางอย่างที่เขายังไม่เข้าใจว่าทำไมผู้ตัดสินต้องห้าม เช่น ทำไมห้ามปาดเหงื่อลงพื้นสนามหรือ ข้างสนาม? ส่วนหนึ่งมาจากตามรายการที่ BWF รับรอง หรือแม้แต่ในรายการของประเทศไทยเอง จะมีป้าย A-Board ที่เป็นโลโก้การโฆษณาของผู้ให้การสนับสนุนรายการนั้น ๆ ในต่างประเทศบางรายการแม้จะเป็นสถานที่ที่เปิดแอร์ แต่มักพบว่าป้าย A-Board เหล่านั้นเลอะไปด้วยคราบเหงื่อของนักกีฬาที่สะบัดมาโดน ซึ่งทาง BWF มองว่าการแข่งขันนักกีฬาควรให้เกียรติกับผู้สนับสนุนรายการต่าง ๆ ซึ่งเขาต้องทุ่มเงินจำนวนมหาศาลเพื่อสนับสนุนการแข่งขัน หากไม่มีบริษัทห้างร้านต่าง ๆ กีฬาแบดมินตันคงมิได้รับความนิยมอย่างล้นหลามขนาดนี้ และกีฬาแบดมินตันคงไม่สามารถยึดถือเป็นกีฬาอาชีพได้ แล้วทำไมต้องเรื่องมากกับการโฆษณาบนเครื่องแต่งกาย? การที่กีฬาแบดมินตันเป็นที่นิยมในปัจจุบันนี้นั่นก็มาจากการวางระบบการจัดการด้านการโฆษณาที่เป็นเยี่ยม ซึ่งการโฆษณาบนเครื่องแต่งกายต่างๆ ของนักกีฬาก็เป็นหนึ่งในการบริหารจัดการที่ BWF มักจะให้ความสำคัญเป็นอันดับต้น ๆ เพราะเมื่อนักกีฬาสวมใส่เครื่องแต่งกายลงสู่สนาม ผู้ชมจะจับจ้องไปที่ตัวของนักกีฬาซึ่งจะเสพสื่อโฆษณานั้น ๆ ไปด้วย ฉะนั้นการแข่งขันทางด้านสื่อโฆษณาจึงมีอิทธิพลเป็นอย่างยิ่ง จึงต้องมีระบบการจัดการที่ดีบนพื้นฐานของความเท่าเทียมของทุก ๆ ฝ่าย |
สิ่งที่อาจารย์อยากให้ผู้ตัดสินไทยพัฒนาให้ทันกับระบบการตัดสิน มีอะไรบ้างครับ | |
ด้านภาษา ปัญหาสำคัญของการพัฒนาผู้ตัดสินไทยในปัจจุบันคือในด้านของทักษะภาษาต่างประเทศ กล่าวคือ กีฬาแบดมินตันของประเทศไทยในปัจจุบันกำลังก้าวหน้าและพัฒนาขึ้นเป็นอย่างมาก เราสามารถพัฒนาการแข่งขันจาก Grand Prix Gold ขึ้นเป็น Super Series ได้ , เรามีรายการ Thomas & Uber Cup ในปี 2018 แต่เราประสบปัญหาด้านการขาดแคลนผู้ตัดสินระดับนานาชาติ ซึ่งช่วงเวลานี้อยู่ในช่วงเปลี่ยนถ่ายผู้ตัดสินชุดใหม่ และติดปัญหาด้านทักษะการสื่อสารภาษาต่างประเทศ ซึ่งผู้ตัดสินในประเทศของไทยผมกล้าพูดตามความจริงว่ามีความสามารถในการควบคุมเกมการแข่งขันไม่ด้อยไปกว่าผู้ตัดสินนานาชาติในหลาย ๆ ประเทศ แต่เพราะติดเรื่องภาษาทำให้ยากที่จะสามารถผลักดันขึ้นไปสู่การเป็นผู้ตัดสินนานาชาติ ความกล้าที่จะตัดสินใจในสิ่งที่ถูกต้อง ผู้ตัดสินไทยเมื่อลงปฏิบัติหน้าที่ในสนาม โดยเฉพาะรายการในประเทศไทย มักจะไม่ค่อยกล้าลงมือจัดการกับความผิดของนักกีฬาเท่าที่ควร โดยเฉพาะในเรื่องของเมื่อนักกีฬาพยายามถ่วงเวลาการแข่งขัน ไม่ว่าจะเป็นการพยายามเดินวนรอบสนาม , ขอเช็ดเหงื่อ , ดื่มน้ำ , ผูกเชือกรองเท้าทั้ง ๆ ที่ไม่ได้มีความจำเป็น ซึ่งมักจะไม่ค่อยให้ความสำคัญเรื่องดังกล่าว ในส่วนนี้ผู้ตัดสินต้องเตือน และดำเนินการอย่างเคร่งครัดกับนักกีฬา เพราะส่วนหนึ่งนักกีฬาของไทยมักมีโอกาสได้ไปแข่งขันในต่างประเทศบ่อยครั้งขึ้น นักกีฬาเหล่านี้จะได้คุ้นเคยกับแนวปฏิบัติในการตัดสินทัดเทียมกับระดับนานาชาติ ลูกเสิร์ฟหน้าไม่ต้องจับ ในเมืองไทยผู้ตัดสินเราเองมักไม่ค่อยจับลูกเสิร์ฟหน้าเท่าที่ควร อาจด้วยเหตุผลส่วนตัวของ ผู้ตัดสินแต่ละคนว่า “ไม่ได้เป็นการเอาเปรียบนักกีฬาฝ่ายตรงข้าม” ซึ่งนั่นเป็นความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องเท่าที่ควรนัก เพราะตามกติกาการส่งลูกไม่เคยพูดถึงเรื่องการได้เปรียบเสียเปรียบ แต่พูดถึงการส่งลูกเสียในลักษณะต่าง ๆ ไม่ว่านักกีฬาจะทำการส่งลูกในรูปแบบใดถ้าเขาทำผิด ต้องกล้าที่จะจับ กล้าที่จะเตือนเพื่อให้นักกีฬาทราบความผิดพลาด และนำกลับไปแก้ไขการส่งลูกให้ถูกต้อง |