รู้จริง รู้ลึก รู้ทัน ทุกความเคลื่อนไหวของวงการแบดมินตันอ่าน Badminton Thai Today
All England
All England ... เวทีเกียรติยศนักแบดมินตัน (ตอน 4) All England ... ยุค”เดนมาร์ค”ครองบัลลังก์
  2 มี.ค. 2561
แบ่งปัน



หลังจากแข่งขันมา 20 ปี All England ก็ต้องหยุดการแข่งขันอีกครั้งในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยคราวนี้ ต้องหยุดพักการแข่งขันนานถึง 7 ปี คือระหว่างปี 1940-1946

ขณะเดียวกัน สงครามโลกครั้งที่ 2 ได้สร้างความสูญเสียกับชาติในยุโรปไม่น้อย โดย”ยุโรปตะวันตก” ได้รับความเสียหายมากมาย ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง จนต้องพึ่งพาความช่วยเหลือจากสหรัฐอเมริกาตามแผน Marshall Plan โดยอเมริกา ที่ไม่บอบช้ำจากสงครามโลก ให้ความช่วยเหลือทั้งเงินทุน เครื่องจักร วัตถุดิบ เพื่อฟื้นฟูประเทศ

ส่วนยุโรปตะวันออก ก็ตกอยู่ภายใต้การขยายอาณาจักรของสหภาพโซเวียตทั้งภาคเศรษฐกิจและการปกครอง รวมทั้งความหวาดระแวงเรื่อง Marshall Plan ของอเมริกา ดังนั้น ชาติยุโรปตะวันออกจึงพึ่งพาแผนฟื้นฟูในชื่อ Molotov Plan ที่รัฐบาลโซเวียตตั้งขึ้นมาเพื่อเสริมสร้างความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศคอมมิวนิสต์



ดูเหมือนจะมีเพียงประเทศในสแกนดิเนเวีย ที่ไม่ได้รับผลกระทบในสงครามโลกครั้งที่ 2 มากนัก เพราะเป็นพื้นที่นอกทวีปที่ทั้งฝ่ายพันธมิตรและฝ่ายอักษะ ต่างก็”ดูเชิง”ไม่มีใครบุก รวมทั้งภูมิประเทศที่อยู่ใกล้ทั้งอังกฤษและโซเวียต ทำให้เยอรมันไม่กล้าที่จะบุกไปโจมตี

และเมื่อ All England กลับมาแข่งขันอีกครั้งในปี 1947 โดยย้ายสถานที่จัดการแข่งขันจาก Lindley Hall, Vincent Square ในเขต Westminster, London ไปแข่งขันที่ Harringay Arena, North London Stadium ใน North London ทุกอย่างก็เปลี่ยนไป และ”อังกฤษ”ไม่ใช่เจ้าแห่งแบดมินตันเช่นเดิม

หากแต่เป็น”เดนมาร์ค” ประเทศในสแกนดิเนเวีย ที่ภูมิประเทศเอื้ออำนวยให้ผู้คนเล่นแบดมินตัน ที่เป็นกีฬาในร่มได้ทั้งปี



โดยปีแรกที่จัดการแข่งขันหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 คือปี 1947 ประวัติศาสตร์โลกแบดมินตันต้องบันทึกว่า เป็นครั้งแรกที่ All England ทั้ง 5 ประเภท ไม่มีนักกีฬาจากอังกฤษได้แชมป์แม้แต่ประเภทเดียว นั่นคือ Conny Jepsen จากสวีเดน คว้าแชมป์ชายเดี่ยว Marie Ussing จากเดนมาร์ค คว้าแชมป์หญิงเดี่ยว และนักกีฬาประเภทคู่จากเดนมาร์ค คว้าแชมป์ทั้งหมด นั่นคือ Tage Madsen - Poul Holm ในประเภทชายคู่  Tonny Ahm - Kirsten Thorndahl ในประเภทหญิงคู่ และ Poul Holm - Tonny Ahm ในประเภทคู่ผสม

และอีก 2 ปีต่อมา คือในปี 1949 ก็มีนักกีฬาจากสหรัฐอเมริกา มาข้ามทวีปคว้าแชมป์เป็นครั้งแรก โดย  David G. Freeman ได้แชมป์ชายเดี่ยว และ Clinton Stephens - Patricia Stephens ได้แชมป์คู่ผสม



ส่วนที่น่าสนใจมากที่สุดก็คือในปีเดียวกัน Ooi Teik Hock -  Teoh Seng Khoon นักกีฬาแบดมินตันชายคู่จากมาเลเซียเป็นแชมป์ชายคู่ ซึ่งถือเป็นนักกีฬาจากเอเชียคนแรกที่ได้แชมป์ All England

และจากปี 1950 จนถึง 1957 เป็นเวลา 8 ปีต่อเนื่องที่นักแบดมินตันชายเดี่ยวจากมาเลเซีย2 คนสลับกันคว้าแชมป์ โดย Wong Peng Soon ได้แชมป์ในปี 1950-1952 และ 1955 ขณะที่  Eddy Choong เป็นแชมป์ปี 1953-1954 และ 1956-1957



ถึงตอนนี้ Wong Peng Soon ถูกยกย่องเป็นตำนานนักแบดมินตันที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคนหนึ่งของโลก ขณะที่ Wong Peng Soon ก็ได้รับการยกย่อง โดยมีรางวัล The Eddie Choong Player of the Yea ให้กับ IBF Player of The Year ซึ่งนักกีฬาคนแรกที่ได้รางวัลนี้ก็คือ  Peter Gade ในปี 1988

อย่างไรก็ตาม ในช่วงนั้น ยังถือว่า”เดนมาร์ค” คือมหาอำนาจแบดมินตันตัวจริงของโลก โดยใน 10 ปีหลังเริ่มการแข่งขันเมื่อสงครามโลกยุติ มีเพียงปี 1954 เท่านั้นที่ไม่มีนักแบดมินตันจากเดนมาร์คได้แชมป์


Cr. Photo Badminton England
All England อื่นๆ