รู้จริง รู้ลึก รู้ทัน ทุกความเคลื่อนไหวของวงการแบดมินตันอ่าน Badminton Thai Today
ข่าวสารและกิจกรรม
แบดมินตัน ..กีฬามหาชน (ตอน1)
  5 ต.ค. 2559
แบ่งปัน
 กีฬามหาชน...เป้าหมายสหพันธ์แบดมินตันนานาชาติ

สำหรับสหพันธ์แบดมินตันนานาชาติ หรือ BWF สิ่งที่เป็น"เป้าหมาย"ใหญ่สุดก็คือ ให้แบดมินตันเป็น"กีฬามหาชน" ทั้งนี้ กล่าวได้ว่า"แบดมินตัน" เป็นกีฬาที่คนทั่วโลกเล่น แต่คำถามก็คือทำไมการแข่งขันจึงถูก"ผูกขาด"โดยนักแบดมินตันไม่กี่ชาติ และส่วนใหญ่เป็นชาวเอเชีย 

โอลิมปิก 2012 ที่ลอนดอน ที่นักแบดจีนคว้าเหรียญทองทั้งหมด ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ BWF คิดที่จะ"ขยายตลาด"แบดมินตันและโชคดีเป็นช่วงเดียวกับที่ BWF เปลี่ยน"แกนนำ"ในปีถัดมา เมื่อ Poul-Erik Høyer Larsen อดีตแชมป์โอลิมปิก 1996 ชาวเดนมาร์ค ได้รับการเลือกตั้งเป็นประธานสหพันธ์แบดมินตันนานาชาติ ในปี 2013 ต่อจาก Kang Young-Joong ที่ดำรงตำแหน่งประธานมานานถึง 8 ปี จากปี 2005-2013 ประธาน BWF มุ่งหวังให้"แบดมินตัน"เป็น"กีฬามหาชน" ที่ไม่ได้มีแค่"เอเชีย"ที่เป็นเจ้ายุทธจักร
 
ก่อนโอลิมปิก 2016 ที่ริโอ BWF ทำงานหนักมากสำหรับแผนการนี้ โดย BWF พยายาม"โปรโมท"ให้ชาติต่างๆโดยเฉพาะอเมริกา อเมริกาใต้ หรือแม้แต่แอฟริกา หันมาให้ความสนใจกีฬานี้ให้เหมือนเอเชียและยุโรป โดยมีการเพิ่มทัวร์นาเมนต์ในทวีปเหล่านี้มากขึ้น ซึ่งแม้จะเป็นทัวร์นาเมนต์เล็กๆ ทั้ง International Challenge , International Series หรือ Future Series แต่ก็ถือว่าเริ่มมีความสนในกีฬานี้ขึ้นในทวีปอื่นๆนอกเหนือจากเอเชียและยุโรป 

ขณะเดียวกัน ก็มีการเชิญชวนนักแบดมินตันชื่อดังให้ไป"โชว์ตัว"ลงแข่งในประเทศที่แทบจะไม่รู้จัก"แบดมินตัน" ว่าเป็นกีฬาแบบไหน เช่น Lin Dan ที่ไปโชว์ลีลาในการทดลองใช้สนามที่บราซิลก่อนการแข่งขันโอลิมปิก ก็สร้างความตื่นเต้นตื่นตาให้กับเด็กๆและผู้คนจำนวนมาก

จนกล่าวได้ว่า"แบดมินตัน"แจ้งเกิดที่บราซิลก่อนโอลิมปิก 2016 ได้สำเร็จ
 
 
ความสำเร็จยิ่งใหญ่ของ BWF คือแบดมินตันริโอ 2016 ไม่มีการผูกขาด เรื่องที่ BWF ดีใจมากที่สุดในโอลิมปิก 2016 ก็คือการแข่งขันเมื่อเดือนสิงหาคม มีผู้เล่นถึง 9 ชาติที่ได้รับเหรียญรางวัล และมี 4 ชาติที่ได้เหรียญทอง คือจีน 2 เหรียญทอง สเปน อินโดนีเซีย และญี่ปุ่น ชาติละเหรียญ
 
  ส่วนเหรียญเงิน มีทั้ง มาเลเซีย อินเดีย เดนมาร์ค ขณะที่เหรียญทองแดง มีอังกฤษ และเกาหลี การมีถึง 9 ชาติ แม้อาจจะยังกระจุกอยู่ที่ 2 ทวีป แต่ก็ถือเป็นย่างก้าวสำคัญของการขยายแบดมินตันเป็น"กีฬามหาชน"

และแผนนี้คือเป้าหมายสำคัญของสหพันธ์แบดมินตันโลก เป้าหมายนี้ จะทำสำเร็จได้ก็คือ ต้องหา"รายได้"สำหรับนักกีฬา เพราะทุกวันนี้ นักแบดมินตันมีรายได้จากเงินรางวัล"น้อยมาก" เมื่อเทียบกับกีฬาอื่น เช่น เทนนิส กอล์ฟ หรือกีฬาประเภททีม เช่น ฟุตบอล บาสเก็ตบอล อเมริกันฟุตบอล

โดยสิ่งสำคัญที่จะทำให้แผนการนี้สำเร็จก็คือ การหา"สปอนเซอร์"มาสนับสนุน เพื่อให้เยาวชนที่อยากเล่นกีฬาอาชีพ หันมามอง"แบดมินตัน"เป็นอีกกีฬา ไม่ใช่เทนนิสหรือกอล์ฟ ซึ่งแน่นอนว่า การจะไปถึงเป้าหมายนั้นได้ก็คือ ต้องให้นักกีฬายุโรปหรือเอมริกา หันมาเล่นกีฬาประเภทนี้มากขึ้น ซึ่งก็เป็นไปตาม"แผนงาน" ที่ BWF วางไว้เป็นระบบ 

แม้จะเริ่มนับหนึ่ง และอาจจะ"ช้า" แต่ก็ถือว่าเริ่มต้นแล้ว

 
ข่าวสารและกิจกรรมอื่นๆ